DSpace Repository

ความรับผิดทางอาญาของผู้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
dc.contributor.author เชิดพันธุ์ อุปนิสากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-18T07:56:23Z
dc.date.available 2020-09-18T07:56:23Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.issn 9743346864
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68002
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจัดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาหาคำนิยามของบุคคลที่ถูกเรียกว่าแฮกเกอร์ และหาคำตอบว่ารัฐควรจะมีนโยบาลทางอาญาสำหรับบุคคลผู้นี้เช่นไร อีกทั้งหาแนวทางในการป้องกันการเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตโดยทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันมีการใช้คำว่าแฮกเกอร์อย่างแพร่หลาย โดยไม่ทราบความหมายที่แน่นอนอีกทั้งเป็นคำในภาษาต่างประเทศ ดังนั้นในการกำหนดคำนิยามในภาษาไทยเพื่อผลในทางนิติศาสตร์ จึงเห็นควรสร้างความชัดเจนโดยกำหนดคำนิยามตามลักษณะของการกระทำอันได้แก่กริยาการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ดังนั้นในทางนิตินัยแฮกเกอร์จึงหมายถึง ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับนโยบายทางอาญาสำหรับผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น ๔ ประการ คือ ประการแรก มาตรการทางอาญาควรกำหนดขึ้นเพื่อลดหรือจำกัดแรงจูงใจในการกระทำของผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ ประการที่สอง ควรบัญญัติกฎหมายเป็นพิเศษเนื่องจากพบว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถรองรับกับผุ้กระทำความผิดได้ ประการที่สาม ควรกำหนดวิธีการลงโทษและระดับของโทษตามลักษณะของแรงจูงใจ ประการที่สี่ ควรสร้างความร่วมมือและเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ในส่วนการป้องกันการเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ได้เสนอแนวทางในการกำหนดให้เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการแรกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเป็นมาตรการแรกในการป้องกันการกระทำความผิดใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ภายหลังจากการเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และพบว่าเมื่อพิจารณาแนวทางดังกล่าวประกอบกับทฤษฎีทางกฎหมายอาญา สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการที่จะนำไปใช้กับการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคต
dc.description.abstractalternative The aim of this research is to define the word “hacker” and to go on to suggest taking legal proceedings on behalf of the government putting forward some guidelines in the prevention of illegal computer system access. The findings reveal that the word “hacker” is widely used without a clear definition in the Thai Language It is a foreign word, defining the word is legally beneficial. By law a hacker is somebody who illegally gains access to a computer system. Four legal policies are suggested. First of all, criminal penalties should be prescribed to dissuade hackers. Secondly a special provision is needed because the current law does not lead to criminal proceedings. Thirdly the type and degree of punishment should be based on the offender’s motives. Lastly the cooperation and the efficient working of the various parts of the organization in judicial administration should be supported. In order to prevent computer system breakdown and resulting offence illegal access to a computer system should be considered an offence. In conclusion, this suggestions together with the proposed four guidelines is suggested as an alternative means to cope with computer crime.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject แฮกเกอร์
dc.subject ความรับผิดทางอาญา
dc.subject อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
dc.title ความรับผิดทางอาญาของผู้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
dc.title.alternative Criminal liability of hackers
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record