Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูงกว่า ชุมชนสามารถอยู่รวมกับป่าได้ถ้ามีความเหมาสมสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จากการสำรวจภาคสนามและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร ระบบสาธารณูปการ นโยบายโคลงการพัฒนาพื้นที่ของรัฐ ข้อจำกัดทางกายภาพและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาซึ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบว่าการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในการพื้นที่มีการขยายตัวจำนวนพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย พื้นที่เพื่อการเกษตรและพื้นที่ป่าไม้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่ไร้ร้างและป่าเสื่อมโทรมมีจำนวนลดลง นอกจากนั้นยังพบว่าลักษณะและข้อจำกัดทางกายภาพของพื้นที่ รวมทั้งลักษณะทางสังคมของชุมชนมีผลต่อลักษณะของการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินในเขตพื้นที่ป่าไม้ กลุ่มชุมชนสำคัญในพื้นที่ 2 กลุ่มคือกลุ่มชนชาวม้งและกลุ่มชนชาวกะเหรี่ยงหรือชาวปกากะญอกลุ่มชุมชนทั้งสองมีความแตกต่างกันทางด้านชาติพันธุ์วิธีชีวิตความเชื่อ ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินของชุมชน ในอดีตชุมชนชาวม้งมีลักษณะการผลิตในแบบไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก สวนชาวกะเหรี่ยงมีลักษณะการผลิตในแบบไร่หมุนเวียนปลูกข้าวเป็นพืชหลัก มีลักษณะการใช้ประโยชน์ป่าไม้ที่สอดคล้องกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกลุ่มชุมชนทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการผลิตทางการเกษตรเป็นแบบเกษตรกรรมสมัยใหม่และวิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย ความมั่นคงในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนขึ้นอยู่กับนโยบายในการจัดการพื้นที่ป่าของรัฐเป็นสำคัญ การกำหนดแนวทางในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่สามารถใช้นโยบายการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในรูปแบบเดี่ยวได้ แต่จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของพื้นที่และชุมชนในแต่ละพื้นที่ โดยต้องคำนึงว่าการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำเป็นต้องมีเงื่อนไขและข้อจำกัด เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคงความสมบูรณ์ตลอดไป