dc.contributor.advisor |
ประนอม รอดคำดี |
|
dc.contributor.advisor |
สุกัญญา แสงมุกข์ |
|
dc.contributor.author |
นุชนาถ สะกะมะณี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-09-23T07:57:05Z |
|
dc.date.available |
2020-09-23T07:57:05Z |
|
dc.date.issued |
2541 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68119 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความสามารถในการดำรงบทบาทมารดาครั้งแรกของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดครั้งแรกที่มาคลอดที่โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำและการสอนตามปกติร่วมกับการใช้โปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองซึ่งประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองมาใช้เป็นแนวทางจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในบทบาทมารดาจาก 4 แหล่งคือ 1) ประสบการณ์หรือการกระทำที่ประสบผลสำเร็จด้วยตนเอง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น 3) การใช้คำพูดชักจูง 4) การกระตุ้นทางร่างกายและการกระตุ้นทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้และการฝึกทักษะพฤติกรรมบทบาทมารดาในระยะหลังคลอดวันที่ 1-3 ขณะอยู่โรงพยาบาลและได้รับการกระตุ้นเตือนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้านในระยะ 2 สัปดาห์แรกโดยการติดตามเยี่ยมบ้าน 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำและการสอนตามปกติ จากพยาบาลประจำการ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ประกอบด้วยวิธีการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในบทบาทมารดา แผนการสอนและภาพพลิก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองได้รับการทดสอบความตรงตามเนื้อหาแล้วจึงนำไปใช้ในการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบข้อมูลทั่วไปของมารดาและแบบวัดความสามารถในการดำรงบทบาท มารดาครั้งแรก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test statistic) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดำรงบทบาทมารดาครั้งแรกของมารดาหลังคลอดที่ได้ใช้โปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับมาก 2. ความสามารถในการดำรงบทบาทมารดาครั้งแรกของมารดาหลังคลอดที่ได้ใช้โปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่ามารดาหลังคลอดที่ได้รับคำแนะนำและการสอนตามปกติจากพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this experimental research was designed to study the effect of using the perceived self-efficacy promoting program on maternal role attainment of first-time postpartum mothers. Research samples consisted 40 first-time postpartum mothers, who delivered at Inburi Hospital and Singburi Hospital, selected by purposive sampling technique and were equally assigned into the experimental group, taught, advised routinely by staff nurse teaching and participated in the perceived self-efficacy promoting program which apply self-efficacy theory using 4 resources to promote self-efficacy : enactive mastery experience or performance accomplishment, viscarious experience, verbal persuasion and physiological and affective state in day 1-3 postpartum and the first two week of home visits by the researcher two times for activate and promote self-efficacy. The control group received routine advice and teaching from staff nurse. The research instrument developed by the researcher were the perceived self-efficacy promoting program, composed of the self-efficacy promoting in maternal role method, lesson plan, and flip chart. All instrument have been tested for content validity by group of experts. In addition, instrument for collecting data was The First- Time Maternal Role Attainment which has been tested for the reliability at .86. Data were analyzed by using t-test. The finding revealed that: 1. The maternal role attainment of first-time postpartum mothers in experimental group, after using the perceived self-efficacy promoting program was at high level. 2. The maternal role attainment of first-time postpartum mothers in experimental group, after using the perceived self-efficacy promoting program was significantly higher than those who were received routine advice and teaching from staff nurse at .05 level. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.224 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
มารดาและทารก |
en_US |
dc.subject |
การรับรู้ตนเอง |
en_US |
dc.subject |
การพยาบาลสูติศาสตร์ |
en_US |
dc.subject |
สตรี |
en_US |
dc.subject |
มารดา |
en_US |
dc.subject |
Mother and infant |
en_US |
dc.subject |
Self-perception |
en_US |
dc.subject |
Maternity nursing |
en_US |
dc.subject |
Women |
en_US |
dc.subject |
Mothers |
en_US |
dc.subject |
9743323414 |
|
dc.title |
ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความสามารถในการดำรงบทบาทมารดาครั้งแรกของมารดาหลังคลอด |
en_US |
dc.title.alternative |
The effect of using the perceived self-efficacy promoting program on maternal role attainment of first-time postpartum mothers |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การพยาบาลศึกษา |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
branom.r@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
gunyadar.p@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.1998.224 |
|