DSpace Repository

ปัญหาสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญกับการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author บุญญวิจักษณ์ เหล่ากอที
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-24T07:50:55Z
dc.date.available 2020-09-24T07:50:55Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743347135
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68146
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐโดยตรง ในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง รัฐจะจำกัดสิทธิเสรีภาพของ บุคคลมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้และ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้ แต่บทบัญญัติแห่ง กฎหมายในการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยอำนาจรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการแก้ไขฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติดให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้ตามปกติมากกว่าการนำตัวมาลงโทษ เพื่อให้โอกาสกลับตัว เป็นคนดีและป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากผู้ติดยาเสพติดที่มีสภาพเป็นอันตรายมิให้ก่ออาชญากรรมขึ้นอีก อันเป็นการนำแนวความคิดตามหลักแทนการดำเนินคดีต่อผู้ติดยาเสพติดมาใช้นั้น เป็นการกระทบกระเทือน สิทธิเสรีภาพของบุคคลจากการใช้อำนาจบังคับบำบัดรักษาของรัฐนี้อยู่บางประการ ปัญหาสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการ บังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ที่สำคัญคือ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับบำบัดรักษาผู้ติด ยาเสพติด ซึ่งได้แก่ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มิได้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ทำให้ สิทธิเสรีภาพของผู้ติดยาเสพติดต้องกระทบกระเทือนจากการใช้อำนาจของรัฐตามกฎหมายดังกล่าวนี้ จึงควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายให้มีความซัดเจน และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สามารถใช้บังคับ ปฏิบัติให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้สามารถกลับคืนสู่ สังคมได้ตามปกติและเพื่อป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากการก่ออาชญากรรมของบุคคลดังกล่าวขึ้นอีก
dc.description.abstractalternative Rights and liberties of a person that are recognized by the constitution shall be protected and directly bound upon the state in enacting, applying and interpreting laws. The restriction of such rights and liberties shall not be imposed upon an individual except by the virtue of provisions of law, specifically enacted for the purpose determined by the Constitution and only to the extent of necessity and provided that it shall not affect the essential substances of such rights and liberties. Based on the concept of criminal diversion, certain laws have empowered state agencies to apply the compulsory treatment system to a drug addict for the sake of his smooth reintegration into society and for the purpose of public safety. However, this inevitably impinges upon some rights and liberties of a person as recognized by the Constitution. The important problem arising from the enforcement of compulsory treatment is that the relating laws, viz, law on psychotropic substances, law on narcotics and law on narcotic addict rehabilitation, are not in accordance with the Constitution. Therefore, the state should review and amend the relating provisions to be clearer, in accordance with the Constitution, in order to achieve the aims of compulsory treatment rehabilitation
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
dc.subject อินเทอร์เน็ต
dc.title ปัญหาสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญกับการบังคับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
dc.title.alternative Computer crime : a case study of commission of sex crime through internet which Thai people is injured person
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record