Abstract:
บทบัญญัติความผิดต่อร่างกายในประมวลกฎหมายอาญาของไทย แบ่งแยกระดับเจตนาการ ทำร้ายผู้อื่นไว้2 ระดับ คือ เจตนาใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 391 และเจตนาทำร้ายผู้อื่นให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295 ไม่มีเจตนาทำ ร้ายร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรงหรือสาหัส มาตรา 297 เป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนัก ขึ้นเนื่องจากผลของการกระทำ การขาดบทบัญญัติที่ให้ผู้กระทำรับผิดโดยตรงสำหรับการทำร้าย ร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรงหรือสาหัสโดยเจตนาไม่สอดคล้องกับโครงสร้างความรับผิดทาง อาญา ทฤษฎีการลงโทษทางอาญา และมีปัญหาในการวินิจฉัยการพยายามกระทำผิดที่มีเจตนาทำร้าย ร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรง ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมอันเนื่องจากกฎหมาย จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติความผิดต่อร่างกายของกฎหมายอาญาต่างประเทศที่ให้ ผู้กระทำรับผิดเกี่ยวกับอันตรายร้ายแรงหรือสาหัส แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ประเทศที่บัญญัติให้การทำร้าย ร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรงหรือสาหัส รับโทษตามผลสุดท้ายของการกระทำเช่นเดียวกับมาตรา 297 ของไทย และประเทศที่บัญญัติให้การทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรงหรือสาหัสรับโทษ ตามเจตนาของการกระทำเป็นการให้รับผิดโดยตรงไม่ใช่การรับโทษขึ้นเนื่องจากผลเป็นเจตนา ทำร้ายร่างกายผู้อื่นในระดับที่ 3 และผู้กระทำผิดต้องรับโทษสูงกว่าการรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากผลเนื่อง จากเจตนามีความชั่วร้ายมากกว่า และหากเป็นการกระทำที่มีเจตนาทำร้ายธรรมดาแต่ผลเกิดอันตราย ร้ายแรงหรือสาหัส ก็มีบทบัญญัติให้รับโทษหนักขึ้นแต่น้อยกว่าการมีเจตนาทำร้ายให้เกิดอันตรายร้ายแรง หรือสาหัสโดยตรง จึงควรบัญญัติฐานความผิดขึ้นใหม่ให้ผู้กระทำรับผิดโดยตรงสำหรับการทำร้ายร่าง กายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายร้ายแรง และบัญญัติเพิ่มเติมฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดที่ผู้ กระทำมีเจตนาทำร้ายร่างกายให้ผู้อื่นรับอันตรายร้ายแรงโดยตรงและเกิดผลเกินกว่าเจตนา เช่น ถึงแก่ ความตายตามมาตรา 290 และการทำร้ายผู้อื่นตามมาตรา 298 ซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์เพราะกระทำต่อบุพการี เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เป็นต้น บัญญัติไว้ในมาตรา 289 เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และ สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้เหมาะสมกับเจตนาของการกระทำ