DSpace Repository

แนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีตัวอย่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
dc.contributor.author นันทพล กาญจนวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-25T09:12:51Z
dc.date.available 2020-09-25T09:12:51Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743339574
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68199
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืนในอดีตนำมาซึ่งปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็น ที่มาของการนำเอาแนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ แนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีปรากฏอยู่ในข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น The Stockholm Declaration, 1972 และ The Rio Declaration, 1992 และ ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เช่น The Convention on Biological Diversity, 1992 โดยวิทยานิพนธ์นี้ได้จำแนกองค์ประกอบของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนออกเป็น 3 มิติ คือ มีติสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความร่วมมือระหว่างประเทศ การให้คำแนะนำทางสั่ง แวดล้อมอย่างต่อเนื่อง หลักการป้องกันล่วงหน้า ความเสมอภาคในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิของรัฐในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การแจ้งเหตุฉุกเฉินที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และ มิติจริยธรรมประกอบด้วย สิทธิในสิ่งแวดล้อม ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมสำหรับคนรุ่นอนาคต การขจัดปัญหาความยากจน พันธกรณีร่วมและพันธกรณีที่ต่างกัน การไม่เลือกปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อม และการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ องค์ประกอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นพบว่ามีอยู่ใน The Stockholm Deeparation, 1972 นางองค์ ประกอบ และใน The Rio Declaration, 1992 มีครบทุกองค์ประกอบโดยบางองค์ประกอบต้องใช้วิธีการตีความสําหรับ The Convention on Biological Diversity, 1992 นั้นมีก็เช่นเดียวกับ The Flo Declaration, 1992 องค์ประกอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจะเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่เกี่ยวด้วยแวดล้อม รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศให้สมดังเจตนารมย์ของการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ สำหรับในระดับประเทศแล้ว องค์ประกอบนี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย การวางแผนปฏิบัติการ การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
dc.description.abstractalternative Unsustainable development brought deterioration to natural resources and the environment in the past; hence, the concept of sustainable development having been introduced to rectify the situation. The concept of Sustainable Development is integrated in international agreements such as the Stockholm Declaration, 1972, and the Rio Declaration, 1992 and also appears in the international environmental law such as the Convention on Biological Diversity, 1992. This thesis, therefore, classified the components of the sustainable development into three dimensions which consist of Environmental Dimension including Environmental Cooperation, Continuous Environmental Supervision, the Precautionary Principle, the Equitable utilization of Resources, Right of state in Utilizing the Resources, Prompt and Effective Notification of Environmental Emergencies. Economic Dimension including Polluter Pays Principle. Ethical Dimension including Right of Environment, Intergenerational Equity, Abolishment of Poverty, Common but Differentiated Obligations, Non Discrimination, and Peaceful Settlement of Disputes. Some of the said components are in the Stockholm Declaration, 1972, and almost all of them are in the Rio Declaration, 1992 as well as the Convention on Biological Diversity, 1992.The components of sustainable development could be used for the analytical of any treaties or conventions related environment. Also could be used as a guideline for the development of international environmental law in order to meet the objective of environmental cum economics. At the national level, they could be used for the setting up policy, agenda, amendment of the environmental legislation for the benefit of development that nsA destroy.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
dc.subject กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
dc.title แนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีตัวอย่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992
dc.title.alternative Concept of sustainable development in international environmental law : case study of the convention on biological diversity, 1992
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record