Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาพรวมการพัฒนาเมืองกับกว๊านพะเยา 2)ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการใช้ที่ดินกับการใช้ทรัพยากรของกว๊านพะเยา และการระบายของเสียลงสู่ลงสู่กว๊านพะเยา 3)วิเคราะห์ปัญหา และสาเหตุความเสื่อมโทรมของกว๊านพะเยา 4) เสนอแนะแนวทางการพื้นฟูและอนุรักษ์กว๊านพะเยาด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนาเมืองและสภาพทางธรรมชาติของกว๊านพะเยา จากหน่วยงานของรัฐและเอกสารทางวิชาการ และการสังเกต การสัมภาษณ์ตามรายการถามถึงลักษณะของประชากรมีกิจกรรมการใช้น้ำที่แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ที่ดิน ปัญหาที่เกิดกับกว๊านพะเยา และความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาเมือง การศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อสรุปคือ 1)กิจกรรมการใช้ที่ดินแตกต่างกัน มีส่วนสัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรของกว๊านพะเยาแตกต่างกันพบว่า ปี พ.ศ. 2541 มีการใช้น้ำจากกว๊านพะเยาจำนวน 3.3 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นการใช้น้ำจากแหล่งที่อยู่อาศัยสูงสุดร้อยละ 48 รองลงมา เป็นการใช้ที่ดินจากแหล่งพาณิชยกรรม (ร้อยละ 16) เกษตรกรรม (ร้อยละ 15.7) และสถานที่ราชการ (ร้อยละ 15) ทั้งหมดนี้คิดเป็นสัดส่วน การใช้น้ำร้อยละ 11 ของปริมาณน้ำกักเก็บในกว๊านพะเยา และมีส่วนสัมพันธ์ในการใช้แหล่งน้ำ ได้แก่ เป็นแหล่งประมง แหล่งท่องเที่ยว และการพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้กิจกรรมการใช้ที่ดินมีส่วนระบายน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยา พบว่า ในระดับพื้นที่ รับน้ำกว๊านพะเยาพื้นที่เกษตร มีการระบายน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยาสูงสุด ในระดับพื้นที่ชุมชนเมือง เกิดน้ำเสียจากแหล่งที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมาเป็นน้ำเสียจากแหล่งพาณิชยกรรม และสถานที่ราชการ 2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของกว๊านพะเยา ได้แก่ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาการตื้นเขิน และปัญหาของการรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่ง ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากสภาพทางธรรมชาติของกว๊านพะเยา กิจกรรมของมนุษย์ และการจัดการบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในอนาคตนโยบายการพัฒนาเมือง จะส่งผลให้เกิดการใช้น้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 5 เท่า มีการใช้กว๊านพะเยาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งประมง ส่งผลให้เกิดการระบายน้ำเสียเพิ่มมากจนเกินกำลังรองรับของกว๊านพะเยา ทำให้เกิดปัญหาที่มีอยู่เดิมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเกิดการใช้น้ำที่เข้าใกล้จุดสูงสุดของกว๊านพะเยาที่จะสัดสรรให้ได้ 3)ข้อ เสนอแนะแนวทางการพื้นฟูกว๊านพะเยา ดังนี้ (ก) ข้อเสนอระดับนโยบาย ได้แก่ กำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ โดยการกำหนดเขตกันชนระหว่างพื้นที่ชายฝั่งกับพื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อศาสนสถาน และกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนา ในพื้นที่เกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ได้ทำการเสนอพื้นที่ใหม่เพื่อป้องกันกิจกรรมการพัฒนาจะเกิดขึ้นริมชายฝั่งของกว๊านพะเยา (ข)ข้อเสนอระดับการปฏิบัติการ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างการผลิตน้ำประปา และระบบการบำบัดน้ำเสีย (ค)ข้อเสนอให้เกิดผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการเสียค่าธรรมเนียมและบทลงโทษแก่ผู้สร้างสารมลพิษ และมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและอาคารที่จะปลูกสร้างรอบกว๊านพะเยา