DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเมืองกับแหล่งน้ำธรรมชาติ : กรณีศึกษาชุมชนเมืองพะเยากับกว๊านพะเยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดุษฎี ทายตะคุ
dc.contributor.author พยุหาด มูลเมือง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-09-29T02:13:04Z
dc.date.available 2020-09-29T02:13:04Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743349189
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68250
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาพรวมการพัฒนาเมืองกับกว๊านพะเยา 2)ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการใช้ที่ดินกับการใช้ทรัพยากรของกว๊านพะเยา และการระบายของเสียลงสู่ลงสู่กว๊านพะเยา 3)วิเคราะห์ปัญหา และสาเหตุความเสื่อมโทรมของกว๊านพะเยา 4) เสนอแนะแนวทางการพื้นฟูและอนุรักษ์กว๊านพะเยาด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนาเมืองและสภาพทางธรรมชาติของกว๊านพะเยา จากหน่วยงานของรัฐและเอกสารทางวิชาการ และการสังเกต การสัมภาษณ์ตามรายการถามถึงลักษณะของประชากรมีกิจกรรมการใช้น้ำที่แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ที่ดิน ปัญหาที่เกิดกับกว๊านพะเยา และความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาเมือง การศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อสรุปคือ 1)กิจกรรมการใช้ที่ดินแตกต่างกัน มีส่วนสัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรของกว๊านพะเยาแตกต่างกันพบว่า ปี พ.ศ. 2541 มีการใช้น้ำจากกว๊านพะเยาจำนวน 3.3 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นการใช้น้ำจากแหล่งที่อยู่อาศัยสูงสุดร้อยละ 48 รองลงมา เป็นการใช้ที่ดินจากแหล่งพาณิชยกรรม (ร้อยละ 16) เกษตรกรรม (ร้อยละ 15.7) และสถานที่ราชการ (ร้อยละ 15) ทั้งหมดนี้คิดเป็นสัดส่วน การใช้น้ำร้อยละ 11 ของปริมาณน้ำกักเก็บในกว๊านพะเยา และมีส่วนสัมพันธ์ในการใช้แหล่งน้ำ ได้แก่ เป็นแหล่งประมง แหล่งท่องเที่ยว และการพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้กิจกรรมการใช้ที่ดินมีส่วนระบายน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยา พบว่า ในระดับพื้นที่ รับน้ำกว๊านพะเยาพื้นที่เกษตร มีการระบายน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยาสูงสุด ในระดับพื้นที่ชุมชนเมือง เกิดน้ำเสียจากแหล่งที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมาเป็นน้ำเสียจากแหล่งพาณิชยกรรม และสถานที่ราชการ 2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของกว๊านพะเยา ได้แก่ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาการตื้นเขิน และปัญหาของการรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่ง ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากสภาพทางธรรมชาติของกว๊านพะเยา กิจกรรมของมนุษย์ และการจัดการบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในอนาคตนโยบายการพัฒนาเมือง จะส่งผลให้เกิดการใช้น้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 5 เท่า มีการใช้กว๊านพะเยาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งประมง ส่งผลให้เกิดการระบายน้ำเสียเพิ่มมากจนเกินกำลังรองรับของกว๊านพะเยา ทำให้เกิดปัญหาที่มีอยู่เดิมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเกิดการใช้น้ำที่เข้าใกล้จุดสูงสุดของกว๊านพะเยาที่จะสัดสรรให้ได้ 3)ข้อ เสนอแนะแนวทางการพื้นฟูกว๊านพะเยา ดังนี้ (ก) ข้อเสนอระดับนโยบาย ได้แก่ กำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ โดยการกำหนดเขตกันชนระหว่างพื้นที่ชายฝั่งกับพื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อศาสนสถาน และกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนา ในพื้นที่เกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ได้ทำการเสนอพื้นที่ใหม่เพื่อป้องกันกิจกรรมการพัฒนาจะเกิดขึ้นริมชายฝั่งของกว๊านพะเยา (ข)ข้อเสนอระดับการปฏิบัติการ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างการผลิตน้ำประปา และระบบการบำบัดน้ำเสีย (ค)ข้อเสนอให้เกิดผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งการเสียค่าธรรมเนียมและบทลงโทษแก่ผู้สร้างสารมลพิษ และมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและอาคารที่จะปลูกสร้างรอบกว๊านพะเยา
dc.description.abstractalternative The study is aimed generally at urban development in relation to water resource of "Kwan Phayao" in Phayao urban areas. Its main objectives are to study development activities through land uses-urban and agricultural- that have effects on water utilisation in and waste water drains to the reservoir of Kwan Phayao, and to identify problems and their causes resided in this reservoir in order to set forth some reccommendations for water resource improvement. The findings are: Firstly, the land use that consumes the largest water quantity of 48 percent is residential land use, then commercial, agricultural and institutional land uses. In addition, it is found that the agricultural and residential land uses drain the most part of waste water on to Kwan Payao. Secondly, problems occurred to the reservoir are low quality and quantity of water due to its physiography damaged by human activities. Thus, thirdly the recommendations made would be provided at both policy and operational levels including legislative mechanism. The designation of conservation area, buffer zone and area allowed for development activities must be enacted in order to protect the reservoir as water resources for everyone, and at the same time, to encourage development in very suitable locations of Phayao urban areas.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- พะเยา
dc.subject การพัฒนาเมือง -- ไทย
dc.subject กว๊านพะเยา
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเมืองกับแหล่งน้ำธรรมชาติ : กรณีศึกษาชุมชนเมืองพะเยากับกว๊านพะเยา
dc.title.alternative The relationships between urban development and water resource : a case study of Muang Phayao and Kwan Phayao
dc.type Thesis
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวางผังเมือง
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record