Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตอุประสงค์เพื่อสศึกษาผลการใช้สื่ออารมณ์ขันที่มีต่อความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยชายและหญิงจำนวน 30 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ การผ่าตัดนิ่วของถุงน้ำดีและริดสีดวงทวารหนัก ที่พักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชายและหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างเดือนธันวาคม 2542- กุมภาพันธ์ 2543 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 15 คน โดยการจับคู่เข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ใช้สื่ออารมณ์ขัน กลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใด้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือส่ออารมณ์ขันประกอบด้วย หนังสือการ์ตูน3เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป มาตรวัดความเจ็บปวดแบบช่อง แบบวัดความเครียด แบบสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ขันของผู้ป่วย แบบบันทึกการได้รับยา การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความเจ็บปวดและความเครียดก่อนใช้สื่ออารมณ์ขัน หลังจากนั้นกลุ่มทดลองจะได้อ่านสื่ออารมณ์ขันครั้งละ30 นาทีโดยวันแรกหลังผ่าตัดหลังอ่านเล่ม 1 และวันที่ 2 หลังผ่าตัดอ่านเล่ม 2 และ 3 ทำการสังเกตพฤติกรรมอารมณ์ขันของผู้ป่วยขณะอ่านหนังสือการ์ตูน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และประเมินความเจ็บปวดและความเครียดในวันที่ 1 และ 2 หลังการผ่าตัดวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารภายหลังใช้สื่ออารมณ์ขันต่ำกว่าก่อนใช้สื่ออารมณ์ขันในวันแรกและวันที่สองหลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. คะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดและความเครียดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารของกลุ่มที่ใช้สื่ออารมณ์ขันต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในวันแรกและวันที่สองหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05