DSpace Repository

การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ของ ชัยคุปต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์
dc.contributor.author พรศิริ นาควัชระ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-06T02:31:06Z
dc.date.available 2020-10-06T02:31:06Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743343458
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68324
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ของชัยคุปต์ในด้านกลวิธีการสร้างโครงเรื่องตัวละครฉากและการเสนอแนวคิด ด้านโครงเรื่อง ชัยคุปต์ใช้กลวิธีการสร้างโครงเรื่อง 2 กลวิธี คือ ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เป็นหลัก และใช้ข้อมูลทางจินตนาการเป็นหลัก ตัวละครในเรื่องสั้นที่ศึกษามี 2 ประเภท คือ ตัวละครที่เป็นสิ่งมีชีวิต และตัวละครที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ชัยคุปต์ใช้กลวิธี 2 แบบในการสร้างตัวละคร คือ การสร้างตัวละครในลักษณะสมจริง ได้แก่ มนุษย์ พืชหรีอสัตว์ที่เกิดจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ การสร้างตัวละครในลักษณะเหนือจริง ได้แก่ ตัวละครมนุษย์ต่างดาว หุ่นยนต์ และหุ่นคน คอมพิวเตอร์ ยานอวกาศ จะสร้างตัวละครตามจินตนาการของผู้เขียนให้มีความรู้สึกนึกคิด มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในปัจจุบัน กลวิธีการสร้างฉากแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กลวิธีการสร้างฉากที่อาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และ กลวิธีการสร้างฉากที่อาศัยข้อมูลทางจินตนาการ กลวิธีการสร้างฉากที่อาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กลวิธีการสร้างฉากโดยการคาดคะเนจากข้อมูลโลกปัจจุบัน กลวิธีการสร้างฉากแบบเหมือนจริง และกลวิธีการสร้างฉากโดยการคาดคะเนจากข้อมูลในอนาคต กลวิธีการสร้างฉากที่อาศัยข้อมูลเชิงจินตนาการ ได้แก่ กลวิธีการสร้างฉากแบบอุดมคติ กลวิธีการสร้างฉากแบบดีสโทเปีย กลวิธีการสร้างฉากแบบประดิษฐ์การ แนวคิดหลักในเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ของชัยคุปต์มี 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดหลักเกี่ยวกับผลกระทบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนวคิดหลักเกี่ยวกับมนุษย์ในปัจจุบันและมนุษย์ในอนาคต และแนวคิดหลักเกี่ยวกับโลกในอนาคต
dc.description.abstractalternative The thesis aims at studying Chaiyacupta’s science fiction with regard to the techniques of plot, setting, characters and themes. The plot used are of 2 different types: plot from theory of science and from the scientist's imagination. Characters in Chaiyacupta’s science fiction can be divided into beings and non-beings. There are 2 type of characters, the first type consists of realistic characters that are human beings, plants and animals from scientific experiments. The second type consists of characters who are aliens, robots and androids, computers and space shuttles. The author usually creates characters from his imagination, so the characters will have their own emotion and higher - technology and efficiency than human beings. There are 2 types of the technique used in the setting: firstly, the setting using scientific information that is to create setting from the data of the present world. Or setting realistic scene using data of the expected future world. Secondly the setting of imagination which of 3 kinds utopia scene, dystopia scene and intentional scene. There are 3 main ideas in Chaiyacupta’s science fiction: the idea about the effects from science and technology present and future the human beings and the idea about the future world.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ชัยคุปต์ คุประตกุล -- ผลงาน -- ประวัติและวิจารณ์
dc.subject การวิเคราะห์เนื้อหา
dc.subject เรื่องสั้น
dc.subject นวนิยายวิทยาศาสตร์
dc.title การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ของ ชัยคุปต์
dc.title.alternative Analytical study of Chaiyacupta's science fiction
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record