Abstract:
การวิจัยครั้งนี้จัดทำเพื่อศึกษาการใช้หนังสืออนุสรณ์งานศพในกลุ่มนักวิชาการประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐในด้านวัตถุประสงค์ และประสบการณ์ในการใช้ส่วนประกอบของหนังสืออนุสรณ์งานศพที่ใช้ เนื้อหา และแหล่งที่ใช้ รวมทั้งปัญหาในการใช้ ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้หนังสืออนุสรณ์งานศพ โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ในการใช้เพื่อหาความรู้ และศึกษาชีวประวัติของผู้ตายจำนวนเท่ากันรองลงมาคือ เพื่อการค้นคว้าวิจัย เพื่อศึกษาผลงานที่เป็นข้อเขียนของผู้ตาย และเพื่อเขียนหนังสือหรือตำรา นักวิชาการประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้รับหนังสืออนุสรณ์งานศพโดยได้รับแจกในงานฌาปนกิจศพมากที่สุด รองลงมาได้รับจากบุคคลอื่น ซื้อจากร้านขายหนังสือ/แผง ขายหนังสือเก่า และทำสำเนาเอกสารจากด้นฉบับ ในช่วงเวลา 3 ปีการศึกษา พบว่า นักวิชาการประวัติศาสตร์จำนวนมากที่สุดใช้หนังสืออนุสรณ์งานศพจำนวนไม่เกิน 5 เล่ม รองลงมาคือใช้มากกว่า 15 เล่มขึ้นไป ส่วนประกอบของหนังสืออนุสรณ์งานศพที่นักวิชาการ ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้คือเนี้อหา รองลงมาคือชีวประวัติของผู้ตาย เนี้อหาของหนังสืออนุสรณ์งานศพที่นักวิชาการประวัติศาสตร์ใช้ในระดับมาก ได้แก่ ชีวประวัติ ประวัติตระกูล ราชสกุล/เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประวัติศาสตร์ไทย สถานที่สำคัญทางประวัตศาสตร์ โบราณคดี และขนบธรรมเนียมประเพณี/คติชนวิทยา แหล่งสารนิเทศส่วนบุคคลเป็นแหล่งที่ นักวิชาการประวัติศาสตร์ใช้มากที่สุด และปัญหาที่นักวิชาการประวัติศาสตร์ประสบในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาด้านการเผยแพร่หนังสืออนุสรณ์งานศพ และปัญหาด้านนักวิชาการประวัติศาสตร์ ผู้ใช้หนังสืออนุสรณ์งานศพ