DSpace Repository

ประวัติบัลเล่ต์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรพล วิรุฬห์รักษ์
dc.contributor.advisor วราพร ปราโมช ณ อยุธยา
dc.contributor.author สุพรรณี บุญเพ็ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-08T02:03:17Z
dc.date.available 2020-10-08T02:03:17Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743343083
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68417
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องประวัติบัลเล่ต์ในประเทศไทยเป็นการ่วิจัยเชิงประวัติศาสตร์โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาและสถานภาพ ของบัลเลต์ในประเทศไทยตั้งแต่ยุคริเริ่มถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2541 โดยศึกษาจากการรวบรวมข้อมูล ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ครูและนักแสดงผู้ทรงคุณวุฒิ และจากประสบการณ์ ทางด้านการสอนและการแสดงของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่าประวัติความเป็นมาของบัลเล่ต์ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกไค้เป็น 3 ยุค ตามวิวัฒนาการทางด้าน การศึกษาและการแสดง คือ ยุคที่ 1 ยุคริเริ่ม (ตั้งแต่ พ.ศ.2477 ถึงพ.ศ.2494) เริ่มมีการเรียนบัลเล่ต์ในโรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์ ใน พ.ศ.2477 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นการสอนแบบอิสระโดยให้นักเรียนเต้นตาม การแสดงจะเป็นการเต้นประกอบเพลงในละครเพื่อคั่นสลับฉาก รูปแบบการนำเสนอของบัลเล่ต์เข้ามามีบทบาทกับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยโดยเฉพาะในละครดึกดำบรรพ์ ยุคที่ 2 ยุคพัฒนาบัลเล่ต์ (ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ถึง พ.ศ.2509) บัลเล่ต์เริ่มมีการพัฒนามากขึ้นเนื่องจากมีครูบัลเล่ต์อาชีพจากต่างประเทศจำนวน 4 คนเปิดสอนบัลเล่ต์ในกรุงเทพฯ การสอนยังเป็นแบบอิสระและมักเป็นการซ้อมเพื่อแสดง มีคนไทยจำนวน 4 คนจบการศึกษาบัลเล่ต์ขั้นสูงจากประเทศอังกฤษ บัลเล่ต์เริ่มขยายไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิกและการผสมระหว่างนาฎยศิลป์ไทยกับบัลเล่ต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์บทเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงบัลเล่ต์หลายชุด และทรงให้การสนับสนุนการแสดงบัลเล่ต์ จึงทำให้บัลเลต์เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น และยุคที่ 3 ยุคมาตรฐานบัลเล่ต์ คลาสสิก (ตั้งแต่ พ.ศ.2509 ถึง พ.ศ.2541) การเต้นบัลเล่ต์ได้พัฒนาจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาของไทยในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และได้มีการแพร่ขยายไปในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ การสอนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้หลักสูตรสากลของประเทศอังกฤษ เป็นการวัดมาตรฐานบัลเล่ต์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การแสดงเป็นบัลเลต์คลาสสิก โดยมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงงานโรงเรียนและการแสดงในเชิงพาณิชย์ ในประเทศไทยยังไม่มีคณะบัลเล่ต์อาชีพและผู้สนับสนุนบัลเล่ต์อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควรอีกทั้งควรมีการแต่งตำราเกี่ยวกับบัลเล่ต์เป็นภาษาไทยเพื่อให้นักเต้นได้และเข้าใจการเค้นบัลเล่ต์ติดยิ่งขึ้น และงานวิจัยฉบับนี้ควรนำไปสู่การวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบัลเล่ต์ในประเทศไทยต่อไป
dc.description.abstractalternative This thesis aims at studying the historical development and the status of ballet in Thailand during the 1934 - 1998. The study is based upon related documentaries in Thai as well as English 1 observation, additional in formative were also sought by interviewing experts’ teachers and performers and researcher's experienced as a teacher and performer. The study finds that history of ballet in Thailand has 3 periods of development. First period was from 1934 to 1951, started with one of the major in The College of Dramatic Arts. In the reign of King Rama VII, the teaching method was free classes (the teacher dance followed by students).The purpose of performances was to use as the performance during the intermission of plays. Forms of western ballet have some influence on Thai classical dance, especially on Dukdambun plays. The second period was from 1951, when ballet started to take its root in Thailand, to 1966. There were 4 foreign professional ballet masters who came to open ballet courses in Bangkok. The teaching was informal and mostly trained for particular performances. Moreover, in this period, there were 4 Thai graduates from England; and ballet started to gain popularity in Chiang Mai. The performance took forms of classical ballet and Thai classical dance ballet. Most importantly, His Majesty King Bhumibol Adulyadej composed songs for ballet and gave support to ballet performance, and that made it well - known to Thai people. The third period saw the standard classical ballet flourished in Thailand from 1966 to 1998. Ballet has been developed to be a part of Thai education curriculum, from preschool to university levels, and spread across the country. The curriculum has been standardized into the British Royal Academy of Dancing to meet international standard. The classical ballet which has been introduced in this period can be divided into 2 forms: school and commercial performances. Professional ballet company and true ballet sponsor are not found in Thailand today, therefore, ballet cannot be developed properly. Ballet text books in Thai language are required dancers. Finally, this research should lead to other research topics in ballet in Thailand.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject บัลเลต์ -- ไทย
dc.subject บัลเลต์ -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
dc.title ประวัติบัลเล่ต์ในประเทศไทย
dc.title.alternative History of ballet in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record