DSpace Repository

พฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกันของกองทุนรวม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์
dc.contributor.author นคร เหลืองรวงทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-05-08T08:44:13Z
dc.date.available 2008-05-08T08:44:13Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743347887
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6842
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงทุนของกองทุนรวมในประเทศไทยในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 ถึงเดือนธันวาคม 2541 ว่ามีพฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกันหรือไม่ และอยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำเพียงใด ทั้งการซื้อและการขายหลักทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน โดยใช้แบบจำลองของ Lakonishok et al. (1992) ในการคำนวณหาระดับของการลงทุนในทิศทางเดียวกัน และทำการวิเคราะห์ผลกระทบของการลงทุนในทิศทางเดียวกันของกองทุนรวมต่อราคาของหลักทรัพย์นั้น โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ของ Wermers (1999) เพื่อดูว่าพฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกันของกองทุนรวม จะส่งผลอย่างไรต่อราคาหลักทรัพย์นั้น โดยใช้ข้อมูลการถือครองหลักทรัพย์รายเดือนของกองทุนปิดตั้งแต่ธันวาคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2541 ผลการศึกษาพบว่า กองทุนรวมในประเทศไทยมีการลงทุนในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลของกองทุนรวมแต่ละกองทุน ซึ่งกองทุนเหล่านี้ถูกบริหารโดยบริษัทจัดการเพียงไม่กี่แห่ง ดังนั้น กองทุนรวมที่บริหารโดยบริษัทจัดการแห่งเดียวกันน่าจะมีการลงทุนในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว ส่วนผลของการลงทุนในทิศทางเดียวกันของกองทุนรวม พบว่าการลงทุนในทิศทางเดียวกันไม่ได้เพิ่มความผันผวนให้แก่ราคาของหลักทรัพย์อย่างที่กังวลกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมส่วนใหญ่ถือครองอยู่แล้ว การลงทุนในทิศทางเดียวกันจะช่วยเร่งให้ราคาของหลักทรัพย์เหล่านั้นเข้าสู่ราคาพื้นฐานที่แท้จริงรวดเร็วขึ้น ดังนั้นนักลงทุนประเภทกองทุนรวมมีส่วนช่วยทำให้ราคาของหลักทรัพย์มีเสถียรภาพมากขึ้น จึงควรส่งเสริมให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมขยายตัวมากขึ้น และควรสนับสนุนให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มบทบาทของนักลงทุนประเภทนี้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย en
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to study the investing behavior of mutual fund companies in Stock Exchange of Thailand during the period of January 1996 to December 1998. The thesis analyzes whether herding behavior exists, if exists, in what magnitude and which derections (buy or sell). We apply the model used by Lakonishok et al. (1992) in order to calculate the magnitude of herding behavior. Further, we analyze the impacts of mutual fund herding on stocks' prices, utilizing Wermers (1999) methodology. The data on mutual fund's portfolio ranged from December 1995 to December 1998 are used in the study. The result indicates a very high level of herding behavior among mutual funds in Thai capital market comparing to that of US capital market. The reason behind this finding is mainly due to the fact that Thai mutual funds are typically managed by a small group of money managers. Mutual funds owned by the same money manager, undoubtedly, tend to behave in a similar way, resulting in the observed herding behavior. The herding behavior does not show any significant evidence of increasing stock prices volatility as we generally concern. On the contrary, the study finds that for those stocks held by most mutual funds, herding is shown to rapidly drive stock prices to their fundamental level. As a major investor, mutual funds play a crucial role of stabilizing stock prices. Mutual fund industry, therefore, should be encouraged to expand and small investors should be encouraged to invest through mutual funds. en
dc.format.extent 9991068 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.388
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กองทุนรวม en
dc.subject การลงทุน en
dc.subject พฤติกรรมตามกัน en
dc.subject ตลาดหลักทรัพย์ en
dc.title พฤติกรรมการลงทุนในทิศทางเดียวกันของกองทุนรวม en
dc.title.alternative Mutual fund herding en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Thawatchai.J@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.388


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record