DSpace Repository

ฟังก์ชันการผลิตและต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศในการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ
dc.contributor.author สุพิณ เจียรลลิต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-10-09T03:15:17Z
dc.date.available 2020-10-09T03:15:17Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743460217
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68472
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาฟังก์ชันการผลิต และต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศของอุตสาหกรรรมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยทำการศึกษาจากสมาชิกสหกรณ์โคนม 3 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก สหกรณ์โคนมนครปฐมและสหกรณ์โคนมหนองโพ จำนวน 414ฟาร์ม ในการศึกษาฟังก์ชันการผลิตใช้รูปแบบสมการการผลิตแบบคอบบ์-ดักลาส เป็นตัวแบบในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของผลผลิต ตลอดจนผลตอบแทนของการขยายขนาดการผลิตของฟาร์มโคนมของสมาซิกสหกรณ์แต่ละแห่ง คือสหกรณ์โคนมมวกเหล็ก สหกรณ์โคนมนครปฐม สหกรณ์โคนมหนองโพ ทุกสหกรณ์รวมกัน ฟาร์มขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดเล็ก รามทั้งใช้การคำนวณต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ (Domestic Resource Cost:DRC) ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการวัดต้นทุน ค่าเสียโอกาสในรูปของปัจจัยการผลิตในประเทศของสินค้านั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการประหยัดเงินตราต่างประเทศสุทธิ 1 หน่วย ผลการศึกษาฟังก์ชันการผลิตพบว่า การเปลี่ยนแปลงของชั่วโมงแรงงาน ค่าอาหาร จำนวนที่ดิน จำนวนแม่โค ค่าเสื่อมทุน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมกันสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำนมดิบของสมาชิกสหกรณ์โคนมมวกเหล็ก สหกรณ์โคนมนครปฐม สหกรณ์โคนมหนองโพ ทุกสหกรณ์รวมกัน ฟาร์มขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดเล็กได้ร้อยละ 75.2 74.6 82.0 74.1 64.5 และ 80.3 ตามลำดับ การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของผลผลิตของ สหกรณ์โคนมนครปฐม และสหกรณ์โคนมหนองโพพบว่า ค่าความยืดหยุ่นของจำนวนแม่โคมีค่าสูงที่สุด ในขณะที่ของทุกสหกรณ์รวมกัน ฟาร์มขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดเล็กนั้น ค่าความยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีค่าสูงที่สุด เมื่อพิจารณาผลตอบแทนต่อการขยายขนาดการผลิตทั้งของสมาชิกสหกรณ์โคนมทุกแห่ง รวมทั้งฟาร์มขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดเล็กพบว่า ล้วนให้ผลตอบแทนต่อการขยายขนาดการผลิตเพิ่มทั้งสิ้น (Increasing Return to Scale) นอกจากนั้นต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศในการเลี้ยงโคนมของสหกรณ์ โคนมมวกเหล็ก สหกรณ์โคนมนครปฐม และสหกรณ์โคนมหนองโพ ได้ค่า DRC เท่ากับ 0.9770 0.7553 และ 0.9871 ตามลำดับ ค่า DRC ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่า การเลี้ยงโคนมเพื่อผลิตน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่ง มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เมื่อคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสในรูปของการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศ
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to study production function and domestic resource cost of dairy cow farming in Thailand. Four hundred and fourteen examples from members of three dairy cow cooperatives, which were Muaklek dairy cow cooperative, Nakornpathom dairy cow cooperative, and Nongpo dairy cow cooperative, were used in this study. Cobb-Douglas Production Function was a model used in calculating the elasticity of output and returns to scale of dairy cow cooperatives and other various size farms. in the subject of return to scale, the study emphasizes on the extension of production capacity or, in the other word increase every inputs in the same proportion, how much changing in output. DRC was also used in the study to determine opportunity cost in term of domestic production factors which results in economize net foreign currency one unit. The study of production function showed that changing in fresh milk quantity can be explained by concurrently changing in work hour, food expense, numbers of lands used, numbers of milk cows, cost depreciation, and other expenses. The result of changing in quantity of fresh milk effected from changing in all production factors of Muaklek dairy cow cooperative, Nakornpathom dairy cow cooperative, Nongpo dairy cow cooperative, and all farms including large farms and small farms were 75.2, 74.6, 82.0, 74.1, 64.5, and 80.3 respectively. The study also found that the value of the elasticity of daily cow production function with respect to the number of the daily cow of Nakornpathom and Nongpo dairy cow cooperatives, was the highest whereas all farms, large farms, and small farms the elasticity of other expenses was the highest. When considering returns to scale of the production of Muaklek dairy cow cooperative, Nakornpathom dairy cow cooperative, Nongpo dairy cow cooperative, and all farms, large farms, and small farms found all are the increasing return to scale. Moreover, DRC values of the production of Muaklek, Nakornpathom, and Nongpo dairy cow cooperatives were 0.977, 0.7553, 0.9871 respectively, which all were less than one. It implied that dairy cow farming to produce fresh milk of the three cooperatives have comparative advantage on their production.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.392
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ฟังก์ชันการผลิต en_US
dc.subject การวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต en_US
dc.subject ต้นทุนการผลิต en_US
dc.subject ความยืดหยุ่น (เศรษฐศาสตร์) en_US
dc.subject โคนม -- การเลี้ยง en_US
dc.subject สหกรณ์โคนม en_US
dc.subject Production functions (Economic theory)
dc.subject Input-output analysis
dc.subject Cost
dc.subject Elasticity (Economics)
dc.subject Dairy cattle -- Feeding and feeds
dc.title ฟังก์ชันการผลิตและต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศในการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Production function and domestic resource cost in dairycows rasing of dairy cooperatives members in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Siripen.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.392


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record