dc.contributor.advisor |
โสรีช์ โพธิแก้ว |
|
dc.contributor.author |
อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2020-10-09T07:25:09Z |
|
dc.date.available |
2020-10-09T07:25:09Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743348387 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68487 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการเจริญส่วนบุคคลตามรูปแบบของทรอตเซอร์ที่มีต่อความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษาพยาบาล และเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยมีการทดสอบก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 16 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกลุ่มการเจริญส่วนบุคคลตามรูปแบบของทรอตเซอร์ เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกันใช้เวลาทั้งสิน 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมกลุ่มการเจริญส่วนบุคคลตามรูปแบบของทรอตเซอร์มีคะแนนความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมภายหลังเข้าร่วมกลุ่มสูงกว่า ค่อนเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักศึกษาที่พยาบาลที่เข้าร่วมกลุ่มการเจริญส่วนบุคคลตามรูปแบบของทรอตเซอร์มีคะแนนความ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ภายหลังการเข้าร่วมกลุ่มสูงกว่า นักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the effect of Trotzer’s Personal Growth Group on assertiveness of nurse students. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample consisted of 16 nurse students from Siriraj Faculty of Nursing, Mahidol University. They were randomly assigned to an experimental and a control group, 8 students each. The experimental group participated in Trotzer’s Personal Growth Group conducted by the researcher, for 20 hours, within 3 consecutive days. The control group didn’t receive any treatment. The instrument used in this study was the Assertiveness Inventory developed by the researcher. The t-test was utilized for data analysis. The results indicated that: 1. The posttest scores on assertiveness of the experimental group were significantly higher than its pretest scores at .01 level of significance. 2. The posttest scores on the assertiveness of the experimental group were significantly higher than the posttest scores of the control group at .01 level of significance. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
นักศึกษาพยาบาล |
|
dc.subject |
การแสดงออก (จิตวิทยา) |
|
dc.subject |
ความตระหนักในศักยภาพตน |
|
dc.subject |
ความสำเร็จ |
|
dc.title |
ผลของกลุ่มการเจริญส่วนบุคคลตามรูปแบบของทรอตเซอร์ ที่มีต่อความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษาพยาบาล |
|
dc.title.alternative |
The effects of trotzer's personal growth group on assertiveness of nurse students |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|