Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของ Velocity ประเภทต่าง ๆ ในช่วงก่อนและหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีบทบาทกำหนดพฤติกรรมของ Velocity ในประเทศไทยในช่วงปี 2533:1 - 2541:7 โดยวิธีการ cointegration และ Error correction model ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ OLS เมื่อข้อมูลที่นำมาศึกษามีคุณสมบัติ Nonstationary นอกจากนี้แล้วมีการเพื่อตัวแปร ปริมาณสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยในฐานะอัตราผลตอบแทนของการถือเงิน M2 M2A และ M3 อีกด้วย ผลที่ได้จากการทดสอบ Unit root พบว่า V1 V2 V2A และ V3 มีคุณสมบัติ Nonstationary ซึ่งบ่งชี้ให้ เห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิด Shock ขึ้น ผลกระทบจาก Shock ที่มีต่อตัวแปร V1 V2 V2A และ V3 จะเกิดขึ้นอย่าง ถาวร ในส่วนผลการทดสอบ Cointegration พบว่า V1 V2 V2A และ V3 มีความสัมพันธ์อย่างมีเสถียรภาพกับ รายได้แท้จริง จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงินได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในกรณี V1 ส่วนต่างอัตราอัตราดอกเบี้ยในกรณี V2 อัตราผลตอบแทนจากการถือหุ้นในกรณี V2A และ V3 และอัตราผลตอบแทนจากการถือเงิน เช่น อัตราตอกเบี้ยในกรณีของ V2A และ V3 โดย V1 V2 V2A และ V3 มีความ สัมพันธ์ในเชิงผกผันกับรายได้แท้จริงและจำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ ในทางต่างกันข้าม V1 V2 V2A และ V3 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณสินเชื่อ และต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงิน นอกจากนี้ยังพบว่า V2A และ V3 มีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับอัตราดอกเบี้ย จากผลที่ได้จากการศึกษา เราสามารถประยุกต์กับการดำเนินนโยบายการเงินในเรื่องดังต่อไปนี้ ประการแรกในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(Shock) ภายใต้กรอบการวิเคราะห์บนพื้นฐานของ ทฤษฎีปริมาณเงิน การเปลี่ยนแปลงของ Velocity จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ดังนั้นนโยบายการเงินที่เหมาะสมจะต้องเป็นไปในลักษณะหักล้างการเปลี่ยนแปลงใน Velocity และประการที่สอง เจ้าหน้าที่ทางการเงินจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่อ V2A และ V3 มีลักษณะตรงข้ามกับผลกระทบที่มีต่อ V1 จึงเป็นสาเหตุให้การเปลี่ยนแปลงของ V2AหรือV3 ที่มีต่อ GDPแตกต่างจากผลการเปลี่ยนแปลง ของV1 ที่มีต่อGDP ตังนั้นในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของรายได้ประชาชาติ เจ้าหน้าที่ ทางการเงินจะต้องพิจารณาผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินที่มีต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของVelocity ทุกประเภท ในการประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายในแต่ละครั้ง