Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ 1994 ซึ่งประเทศสมาชิก WTO จักต้องแก้ไขกฎหมายภายในประเทศของตนทั้ง เนื้อหาสารบัญญัติและกระบวนการพิจารณาให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังมีความไม่เป็นธรรม และมีช่องว่างที่เปิดช่องให้ประเทศสมาชิกสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงได้ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยให้การอุดหนุนแก่ภาคเอกชนในประเทศของตน และใช้กฎหมายการตอบโต้การอุดหนุนเป็นเครื่องมือในการก่อกวนทางการค้าแก่สินค้าที่ส่งออกจากประเทศอื่น เช่น ประเทศไทย ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐบาลซึ่งอาจถือว่าเป็นการอุดหนุนที่ห้ามใช้หรืออาจถูกมาตรการตอบโตได้ เป็นการอุดหนุนที่ไม่ถูกมาตรการตอบโต้ เพื่อมิให้เกิดผลเลียหายต่อประเทศ และในขณะเดียวกันเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ประสบปัญหาจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้า จากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้การค้าที่ไม่เป็นธรรม และให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าวด้วย