Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ ชุดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วน แบบแผนการบริโภค กิจกรรมที่ปฏิบัติและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีภาวะอ้วน และภาวะโภชนาการปกติ โดยแบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 435 คน รวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามชั่งนี้าหนักและวัดส่วนสูง ผลการวิจัยพบว่า ภาวะอ้วนในบิดามารดา พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน เครือญาติ อาชีพ ของบิดามารดาและรายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนลำดับที่เกิด การศึกษาของบิดามารดา ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน (p>0.05) ความรู้เกี่ยว กับภาวะอ้วน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน ระดับ ชัน ม.1-ม.3 (p>0.05) แต่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน ระดับชั้น ม.4-ม.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ความถี่ในการบริโภคอาหารระหว่างมื้อก่อนนอนทั้งช่วงเปิดเรียนและปิดเรียน และความถี่ในการบริโภคอาหารมื้อเช้าและมื้อกลางวันช่วงเปิดเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) กลุ่มภาวะอ้วนและภาวะโภชนาการปกติ ได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงใน 1 สัปดาห์ แต่ละประเภทและรวมทุกประเภทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) กลุ่ม ภาวะอ้วนและภาวะโภชนาการปกติมีการใช้พลังงานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเภทออกกำลังกาย เล็กน้อยถึงปานกลาง (ใช้พลังงานน้อยกว่า 2.26-3.85 กิโลแคลอรี่/1ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) สำหรับการออกกำลังกาย (ใช้พลังงาน 3.86-5.98 กิโลแคลอรี่ / 1 ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และการปฏิบัติกิจกรรม (ใช้พลังงานน้อยกว่า 2.26-5.98 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีการใช้พลังงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01)