Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ทีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และภาวะสุขภาพของประชากรวัยแรงงานกับการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย พ.ศ. 2534 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2539 โดยใข้ข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่องการสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2534 และพ.ศ. 2539 จงดำเนินการศึกษาโดยสำนักงามเสกิติแห่งชาติ ตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือ ประชากรวัยแรงงานที่เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบายด้วยโรค/อาการต่าง ๆ ในรอบ 2 สัปดาห์ก่อนสำรวจ พ.ศ. 2534 ได้ จำนวนตัวอย่าง 7,341,914 ราย พ.ศ. 2539 ได้จำนวนตัวอย่าง 4,928,076 ราย ผลการศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยของประชากรวัยแรง งาน ระหว่าง พ.ศ. 2534 กับ.พ.ศ. 2539 พบว่า พ.ศ. 2534 ประชากรวัยแรงงานมการตัดสินใจรักษาพยาบาลโดย วิธีซื้อยากินเองสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นการรักษาโดยวิธีแผนปัจจุบัน การไม่รักษาอะไร และการรักษา ด้วยวิธีอึ่นๆ ตามลำดับ ส่วน พ.ศ. 2539 พบว่าประชากรวัยแรงงานที่การตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยวิธีแผนปัจจุบันสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นการตัดสินใจรักษาโดยการซื้อยากินเอง การไม่รักษาอะไร และการรักษาโดยวิธีอึ่น ๆ และเมื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาด้วยวิธีเดียวกัน ระหว่าง 2 ปี พบว่าสัดส่วนการรักษาโดยวิธีซื้อยากินเอง การไม่รักษาโดยวิธีใดเลย และการรักษาโดยวิธีอื่น ๆ ใน พ.ศ. 2539 ลดลงจาก พ.ศ. 2534 ส่วนลัดส่วนการรักษาโดยวิธีแผนปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2539 เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2534 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และภาวะสุขภาพ กับการตัดสินใจรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย พบว่าปัจจัยต่างๆ เหล่าน้ทีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างที่นัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยที่เป็นไปตามสมมติฐาน คือ เพศ อายุ การ ศึกษา ภาคที่อยู่อาศัย โรคที่เจ็บป่วย ความรุนแรงของการเจ็บป่วย โดยพบว่า ประชากรวัยแรงงานเพศหญิงที่การตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยวิธีแผนปัจจุบันในสัดส่วนที่สูงกว่าเพศชาย ผู้ที่ทีอายุ 45-59 ปี ทีการตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยวิธีแผนปัจจุบันในสัดส่วนที่สูงกว่า ผู้ที่ทีอายุ 15-29 ปี และ 30-44 ปี ผู้ที่ทีการศึกษาระดับประถมศึกษาทีการตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยการซื้อยากินเองสูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่า ผู้ที่อยู่ในภาคใต้ทีการตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยการซื้อยากินเองน้อยกว่าผู้ที่อยู่ภาคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ เจ็บป่วยด้วยโรคเฉียบพลันและเจ็บป่วยในระดับไม่รุนแรงทีการตัดสินใจรักษาพยาบาลโดยการซื้อยากินเองสูงกว่าผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีการเจ็บป่วยในระดับที่รุนแรง