Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับตัวแทนโดยปริยาย ตามที่บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมทังศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาหลักกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ตัวแทนโดยปริยายนั้นมีความแตกต่างกับตัวแทนเชิดทั้งในด้านลักษณะและผลทางกฎหมายกล่าวคือ ตัวแทนโดยปริยายนั้นตัวการได้แสดงถึงความพอใจและยอมรันการแสดงออกของตัวแทนโดยปริยาย แม้ตัวการจะไม่ได้แต่งตั้ง หรือแสดงความยินยอมโดยตรง แต่ความรับผิดชอบผูกพันระหว่างตัวการและบุคคลนภายนอกให้นำมาตรา 820 มาใช้บังคับ เนื่องจากตัวการมีความยินดี ยอมรับซึ่งเป็นการยอมรับอย่างปริยายในการแสดงออกของตัวแทน ส่วนกรณีตัวแทนเชิดนั้น ตัวการไม่ได้แสดงออกถึงความพอใจ หรือความยินดีในการกระทำของด้วยการกับตัวแทนเชิด เป็นแต่เพียงการเช็ดที่ทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อ ตัวการจึงถูกกฎหมายปิดปากมิให้โต้เถียงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่ตัวแทนของตน (agency by estoppel) ตัวการในกรณีตัวแทนเชิดนั้น จึงต้องรับผิดตามมาตรา 821 ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้น เพราะกฎหมายบัญญัติ ( by operation of law ) จึงไม่ใช้มาตรา 820 บังคับ นอกจากนั้น ในเรื่องขอบเขตของอำนาจตัวแทนโดยปริยายกฎหมายตัวแทนของไทยไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องอำนาจโดยปริยาย (implied authority) โดยชัดแจ้ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำหลักกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้ด้วย นอกจากนั้น ในเรื่องของหลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องของสัมพันธ์ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างตัวการ ตัวแทน และบุคคลภายนอกนั้น สามารถนำมาใช้กับตัวแทนโดยปริยายเพียงเท่าที่ไม่ขัดกันหลักกฎหมายตัวแทน เช่น มาตา 810, 812 หรือ 820 เป็นต้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า เพื่อให้หลักกฎหมายเกี่ยวกับตัวแทนโดยปริยายสามารถใช้ได้อย่างสมเจตนารมย์ของหลักกฎหมาย ในเรื่องลักษณะและการเกิดของตัวแทนโดยปริยายและตัวแทนเชิดนั้น มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงควรตีความและปรับใช้กฎหมายในสองเรื่องนี้ให้ตรงกับลักษณะ และ ไม่ควรถือว่า ตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนโดยปริยายประเภทหนึ่ง นอกจากนั้น ในเรื่องผลทางกฎหมายของตัวแทนโดยปริยายนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นเช่นไร