Abstract:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีแผนพัฒนาพื้นที่จัดการผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย บริเวณสวนหลวง เขตปทุมวัน โดยการรื้อตึกแถวเดิม เพื่อก่อสร้างโครงการอาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ส่ง ผลให้ไม่สามารถดำเนินงานตามแผนแม่บทได้ ในขณะที่ตึกแถวจะสิ้นสุดสัญญาเช่า ขณะเดียวกันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวนหอพักนิสิตและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ ทั้งผู้ที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดหรือผู้ที่ประสบปัญหาการเดินทางจากที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑลมายังมหาวิทยาลัย จึงมีแนวดีดจะใช้ประโยชน์จากตึกแถวเป็นด้งกล่าว ให้ที่พักอาศัย สำหรับนิสิต และอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาก่อนการรื้ออาคารทิ้ง เพื่อดำเนินโครงการตามแผนแม่บทในอนาคต การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาข้อมูล และข้อเสนอแนะในการพิจารณาดำเนินการด้งกล่าว จากการศึกษาพบว่า ตึกแถวเดิมมีอายุมากว่า30 ปี แม้สภาพภายนอกดูทรุดโทรม แต่โครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารยังอยู่ในสภาพที่นำมาซ่อมแซมปรับปรุงใช้งานต่อไปได้อีกซ่วงระยะเวลาหนึ่ง จำนวนนิสิตและอาจารย์ที่ต้องการพักอาศัยใกล้กับมหาวิทยาลัย มีจำนวนร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ และ การดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตึกแถวเพื่อเป็นที่พักอาศัย ไม่ขัดกับกฎระเบียบและข้อบังคับทางกฎหมาย ก่อสร้างอาคาร และการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ในเรื่องรูปแบบตึกแถวนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นที่พักอาศัยได้หลายแบบจะเป็นที่พัก อาศัยทั้งคูหา หรือกั้นเป็นห้องย่อยก็ได้ ในเรื่องค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก เพราะเป็นเพียงการซ่อมแซม และปรับปรุง อาคารเดิม โดยไม่จำเป็นต้องต่อเติม ประมาณ 2-3 แสนบาทต่อคูหาเท่านั้น ในเรื่องการลงทุน ทางมหาวิทยาลัย สามารถลงทุนได้เอง เพราะใช้เงินลงทุนไม่สูง หรือจะให้เอกชนรับไปดำเนินการ โดยทางมหาวิทยาลัยกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ก็ได้ รวมทั้งผลตอบแทนที่จะได้รับ น่าจะสูงกว่าที่ได้จากค่าเช่าปกติในปัจจุบัน ทั้งนี้นอกจากผล ตอบแทนรายได้จะเพิ่มขึ้น ช่วยแก้ปัญหาที่พักอาศัยของนิสิตและอาจารย์ และยังส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกว่าปัจจุบันที่ใช้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม