Abstract:
โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอัตราการกัดกร่อนสารอินทรีย์ที่มีต่อซีเมนต์และคอนกรีต โดยเน้นหนักให้เกิดประโยชน์แก่โรงงานอุตสาหกรรมเคมีที่ต้องการเก็บสารเคมีในถังซีเมนต์หรือคอนกรีต จึงได้เลือกใช้สารเคมีที่ใช้กันโดยมากในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ส่วนประกอบในการผสมซีเมนต์และคอนกรีตเป็นไปดังนี้ คือ ซีเมนต์ : ใช้ซีเมนต์ตราช้าง อัตราส่วนผสม : น้ำ: ปูน: ทราย = 1: 2: 2 โดยน้ำหนัก คอนกรีต : ใช้ซีเมนต์ตราช้าง อัตราส่วนผสม : ปูน: ทราย : หิน = 1: 2: 2.85 โดยน้ำหนัก (ตามมาตรฐานของ บ.ค.ส) และ น้ำ : ปูน = 1 : 2 โดยน้ำหนัก ในการหล่อซีเมนต์และคอนกรีตผู้วิจัยได้ทดลองใช้น้ำทั้งสองชนิด คือ น้ำธรรมดาและน้ำทะเลผสม การทดลองจึงมี 4 ชุด ด้วยกัน คือ 1. คอนกรีตผสมน้ำธรรมดาแช่สารเคมีเป็นเวลา 10 วัน, 40 วัน และ 70 วัน รวมเป็น 120 วัน 2. คอนกรีตผสมน้ำทะเลแช่สารเคมีเป็นเวลา 20 วัน, 40 วัน และ 70 วัน รวมเป็น 130 วัน 3. ซีเมนต์ผสมน้ำธรรมดาแช่สารเคมีเป็นเวลา 20 วัน, 40 วัน รวม 60 4. ซีเมนต์ผสมน้ำทะเลแช่สารเคมีเป็นเวลา 20 วัน, 40 วัน รวม 60 วัน สารเคมีที่ใช้แช่มี 5 ชนิด 1. Toluene 2. Benzene 3. Formaldehyde 4. Acetone 5. Xylene การทดลองนี้ทำโดยวีธี static phase คือแช่ในน้ำยาเคมีที่อยู่นิ่ง และได้ใช้น้ำหนักที่เปลี่ยนไปตามเวลาที่แช่เป็นเครื่องวัดในการกัดกร่อน ผลจาการทดลองนี้พบว่าอัตราการกัดกร่อนของสารเคมีที่มีต่อซีเมนต์และคอนกรีตขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสารเคมีนั้นๆ ซึ่งสารเคมีทั้ง 5 ตัวที่ใช้แช่ เราสามารถแบ่งออกได้ตามโครงสร้างเป็น 2 ชนิด คือ 1. Reactive substance เป็นสารซึ่งมี functional group (-C-) ทำให้มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับสารอื่น ได้แก่ formaldehyde ซึ่งถ้านำมาแช่ในถังซีเมนต์หรือคอนกรีต จะทำให้ผนังของถังอ่อนยุ่ยได้ 2. Non-reactive substance เป็นสารซึ่งไม่มี functional group (-C-) จึงมีคุณสมบัติที่เชื่องช้าไม่ว่องไวในการทำปฏิกริยา ได้แก่ Benzene, Toluene และ Xylene ส่วน Acetone เป็นสารที่มี functional group แต่มีคุณสมบัติ inert ต้องมีด่างแก่ๆ และเข้มข้นอยู่ด้วย จึงจะทำปฏิกิริยากับสารอื่นแต่ด่างของลูกปูนเป็นด่างอ่อน acetoneจึงไม่ทำปฏิกริยากับลูกปูน ดังนั้นในการทดลองนี้ จึงจัด acetone อยู่ในสารพวกที่ 2 ซึ่งถ้านำสารเหล่านี้มาแช่ในถุงซีเมนต์หรือคอนกรีตก็ใช้ได้ โดยไม่มี effect ใดๆ เลย และจะแช่ไว้นานเท่าใดก็ได้