Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงบทบาทของสหประชาชาติในคองโก “โอนุก” ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1964 โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติการรักษาสันติภาพในครั้งนี้ประสบความยุ่งยาก การศึกษานี้ได้นำเอาทฤษฎีจักรวรรดินิยมเป็นกรอบในการวิเคราะห์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมมติฐานว่าการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคองโกประสบความยุ่งยจาก สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากผลพวงของลัทธิจักรวรรดินิยมและความขัดแย้งของมหาอำนาจในโลกระบบ 2 ขั้ว จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคองโกต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมายเนื่องมาจากเบลเยี่ยมและประเทศต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตต้องการที่จะรักษาและแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในคองโก การกระทำดังกล่าวได้ทำให้สหประชาชาติต้องเผชิญกับปัญหา 4 ประการดังนี้ คือ (1) การแทรกแซงกิจการภายในคองโกจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศจากยุโรปหลายประเทศ (2) ข้อมติสหประชาชาติมีความไม่ชัดเจน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ พยายามที่จะผลักดันข้อมติสหประชาชาติให้เอื้อประโยชน์กับตน (3) สหประชาชาติตัดสินใจอนุมัติให้ “โอนุก” ใช้กำลังป้องกันตนเองเพื่อยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในจังหวัดคาตังก้า (4) สหประชาชาติต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินเมื่อบางประเทศ อย่างเช่น ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตปฏิเสธที่จะออกค่าใช้จ่ายให้กับ “โอนุก”