Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ ลักษณะของเมืองตรังเพื่อศึกษา วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของเมือง ย่านและชุมชน สภาพปัจจุบันของเมือง ย่านและชุมชน แนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงของเมือง ย่านและชุมชน ตรังในอนาคต เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและนำความรู้ทางด้านผัง เมือง มาประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาย่านและชุมชนพื้นที่กรณีศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ให้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดนโยบายแนวทางการพัฒนาย่านและชุมชน ภายในเมืองตรังได้อย่าง ถูกต้อง จากการศึกษาพบว่าเมืองตรังเป็นเมืองมีพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงด้านที่ตั้งเมืองตามความ เหมาะสมทางด้านยุทธศาสตร์ มีอายุ 90 ปีโดยประมาณ แต่ทางด้านการตั้งถิ่นฐาน ความเป็นมาทางด้านสังคม และวัฒนธรรม มีความเป็นมา มีการตั้งถิ่นฐานก่อนการประกาศตั้งเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่เป็นแบบชุมชน ริมน้ำ มีแม่น้ำตรังเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก เมื่อย้ายเมือง นโยบายจากส่วนกลางมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก ทำให้เมืองตรังมีบทบาท เป็นเมืองทางการค้าขายที่สำคัญของประเทศทั้งในประเทศและส่วนภูมิภาค ทำให้เอกลักษณ์ทางด้านกายภาพ ของเมืองในย่านการค้าที่มีความสำคัญยังคงหลงเหลือ กลุ่มอาคารพาณิชย์ในยุคที่การค้ารุ่งเรือง ลักษณะอาคาร ในแบบ ชิโน-โปรตุกีส ในปัจจุบันอาคารยังคงมีการอาศัยและใช้ประโยชน์จากกลุ่มอาคาร แต่เสื่อมโทรมและทิ้ง ร้างลงไปบ้าง ย่านพักอาศัย และย่านส่วนราชการในพื้นที่ใจกลางเมือง มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น รายรอบ เมือง ตามเส้นทางการคมนาคมหลักมีการจัดสรรย่านที่อยู่อาศัย จับจองพื้นที่กระจายออกไปโดยรอบเมือง เกิด กิจกรรมใหม่ๆ ในบางย่านของถนนบางสาย เกิดร้านอาหารกึ่งผับในช่วงเวลากลางคืนโดยทั่วไป ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมืองตรังมีบทบาทระดับภาคลดลงคือการเปลี่ยนแปลง การปกครองและนโยบายทางเศรษฐกิจ คือการคมนาคมที่มีการตัดเส้นทางสายใหม่ของเมืองท่าหลักของท่าเรือ สงขลา แต่เมืองตรังก็สามารถดำรงอยู่ในปัจจุบันได้โดยยังคงเป็นเมืองการค้าเช่นเดิม แต่เป็นในระดับจังหวัด คือ มีการเข้าติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างอำเภอภายในพื้นที่ มีความสามารถในการรองรับธุรกิจการค้าภายใน จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง และมีนโยบายพัฒนารองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นของอำเภอโดยรอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่คือการเสื่อมโทรมของย่านการค้าในตัวเมือง และการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการพัฒนาย่าน และชุมชนเมืองตรังคือ 1) การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ รองรับพาณิชยกรรม และรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) พัฒนาและควบคุมการขยายตัวของเมืองใน ทิศทางที่เหมาะสม 3) พัฒนาส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ร่วมพัฒนาโครงการพัฒนา เมืองให้สอดคล้องกับการดำเนินชิวิตของชุมชน