Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษา ทัศนะของ “ ผู้หญิงทำงาน” ในสังคมไทย พ.ศ. 2500 - 2516 ในช่วงเวลานี้มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้หญิงชั้นกลางที่มีการศึกษาเข้าสู่อาชีพที่หลากหลายมากขึ้น จากการศึกษาพบว่านอกจากอาชีพที่เป็นที่นิยมของผู้หญิงมาตังแต่ก่อนช่วงเวลานี้ เช่น ครู พยาบาลแล้ว ผู้หญิงในช่วงสมัยพัฒนาได้เข้าสู่งานอาชีพใหม่ ๆ คือ เลขานุการ นักบัญชี และพนักงานธนาคาร ซึ่งเพิ่มขึ้นมากเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวขึ้นของภาคธุรกิจเอกชน ผู้หญิงทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวมีทัศนะในด้านบวกต่อการทำงานซึ่งนอกจากมีรายได้เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวแล้ว ยังมีเงินไว้ใช้จ่ายส่วนตัวอีกด้วย นอกจากนี้การทำงานยังเป็น การเปิดโลกทัศน์ และวิถีชีวิตใหม่ ๆ ผู้หญิงชั้นกลางที่มีการศึกษาส่วนใหญ่ในช่วงเวลานี้ยังคงทำงานต่อไปแม้ว่าจะสมรสแล้ว อย่างไรก็ตามค่านิยมของสังคมเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้หญิงในฐานะเมียและแม่ก็ยังคงมีความ สำคัญมาก ฉะนั้นผู้หญิงทำงานในช่วงสมัยพัฒนาจึงยอมรับภาระทั้งสองอย่าง ทั้งการทำงานนอกบ้านและหน้าที่ในครอบครัว