Abstract:
ที่มาและความสำคัญ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกสามารถพบได้บ่อยในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ ซึ่งการรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกนี้มักจะส่งผลทำให้ช่วงเวลา QT ยาวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะแบบ ventricular tachyarrhythmias ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางมาตรฐานที่ชัดเจนในการวัดช่วงเวลา QT ในคนไข้กลุ่มภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก เพื่อที่จะป้องการการเกดหัวใจห้องล่างเต้นผิดใจหวะแบบ ventricular tachyarrhythmias (VA) ได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีการวัดช่วงเวลา QT ที่แม่นยำที่สุดในการคาดคะเนการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะแบบ VA ในคนไข้กลุ่มภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก
ระเบียบวิธีวิจัย เก็บข้อมูลผุ้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยใช้ ICD-10 ในการสืบหาข้อมุลผู้ป่วย โดยนำ 12-lead EKGs วัดช่วงเวลา QT มาทำการวัดที่ lead II หรือ lead V3 และใช้ สมการ Fridericia’s QT interval correction (QTc) รวมถึงกำหนดจุดสิ้นสุดในการวัดช่วงเวลา QT โดยใช้ วิธี Tangent โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับการวัด 12-lead EKGs ในทั้งหมด 4 ตำแหน่ง คือ (1) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc ระหว่าง QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดและสั้นที่สุด (2) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc 3 ช่วงโดยมี QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดอยู่ตรงกลาง (3) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc 10 ช่วงโดยหนึ่งในนั้นต้องประกอบด้วย QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดร่วมด้วย (4) ค่าช่วงเวลา QTc โดยเครื่องอ่านผลระบบ Philips DXL 12- lead algorithm โดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ความแม่นยำของแต่ละวิธีการวัดช่วงเวลา QTในการคาดคะเนการเกิด VA และวัตถุประสงค์รอง คือ ความแม่นยำของแต่ละวิธีการวัดช่วงเวลา QT ในการคาดคะเนการเกิด Torsades de pointes (TdP) ในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก
ผลการวิจัย ข้อมูลจาก 239 คนที่เข้าเกณฑ์กำหนดวิจัยจาก 684 คน พบมีหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ 48 คน (20.1%) และมี TdP อีก 19 คน (7.9%) โดยได้ผลความแม่นยำของแต่ละวิธ๊เพื่อคาดคะเน VA ที่ช่วงเวลา QT ≥ 500 milliseconds เท่ากับ 82.8% สำหรับ วิธีที่ (1) (ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้นได้ [ICC] 0.822; 95% confidence interval [CI] 0.717, 0.893), 84.9% สำหรับ วิธีที่ (2) (ICC 0.809; 95% CI 0.694, 0.886), 84.9% สำหรับวิธีที่ (3) (ICC 0.846; 95% CI 0.725, 0.915) and 69.5% สำหรับวิธีที่ (4) ในส่วนของความแม่นยำของแต่ละวิธีเพื่อคาดคะเน TdP ที่ช่วงเลา ≥ 500 milliseconds เท่ากับ 91.6% สำหรับวิธีที่ (1), 95.4% สำหรับวิธีที่ (2), 95.4% สำหรับวิธีที่ (3) และ 74.6% สำหรับวิธีที่ (4)
บทสรุป ในทั้งหมด 4 วิธีการวัดช่วงเวลา QT พบว่า ในวิธีค่าเฉลี่ยช่วงเวลา QTc 3 ค่า และ ค่าเฉลี่ยช่วงเวลา QTc 10 ค่า มีความแม่นยำที่ดีในการคาดคะเนการเกิด VA และ TdP และมีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำที่ดี ในการวัดช่วงเวลา QTc โดยใช้เครื่องอ่านผลนั้นยังต้องการหลักฐานการวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ในการปฎิบัติจริงได้