Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรสและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรสในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบMastectomy ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross –sectional descriptive study) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจในชีวิตสมรสและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรสในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบMastectomy แผนกศัลยกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบMastectomy ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและไม่ตรงกับเกณฑ์คัดออกทั้งหมดที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2.แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส The Dyadic Adjustment Scale 3.แบบสอบถามสุขภาวะทางเพศ 4.แบบสอบถามความรู้สึกที่มีต่อรูปลักษณ์ทางกาย Body Image Scale (BIS) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Univariate analysis คือ สถิติ Chi-Square เพื่อทดสอบปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยหญิงโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ Mastectomy และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยหญิงโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ Mastectomy ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งผลการศึกษาความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ Mastectomy ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69 มีปัญหาทางเพศระดับปานกลางร้อยละ 61 มีความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกายอยู่ในระดับมากร้อยละ 64 เมื่อนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Logistic Regression Analysisพบว่ามีปัจจัยทำนายความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ Mastectomy 3 ปัจจัย ได้แก่ การไม่จดทะเบียนสมรส (P=0.010), อาการชาบริเวณรักแร้หรือต้นแขนด้านในหรือปลายมือ (P=0.016) และการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัด (P=0.019) สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบMastectomy ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจปานกลางและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความใกล้เคียงกับงานวิจัยที่ศึกษาความพึงพอใจในชีวิตสมรสอื่น ๆ โดยผลของการศึกษาครั้งนี้