DSpace Repository

การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.author ธนวัฒน์ แซ่เจี่ย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T10:07:00Z
dc.date.available 2020-11-11T10:07:00Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69455
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งมีค่าใช้จ่ายสูงและมีความเสี่ยง การศึกษาในต่างประเทศพบว่าสาเหตุการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินที่เกิดจากการเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและค่าใช้จ่ายของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อระบุสาเหตุและศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย วิธีดำเนินการวิจัย: การทบทวนข้อมูลย้อนหลังของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลจากฐานผลิต/ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2562 เป็นระยะเวลา 36 เดือน ผลการวิจัย: ในช่วงเวลาศึกษาวิจัยมีผู้ป่วยที่ถูกเคลื่อนย้ายจำนวนทั้งสิ้น 416 ราย สาเหตุของการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาส่วนใหญ่ร้อยละ 84.13 เป็นการเจ็บป่วย พบว่าร้อยละ 60.1 ของการเคลื่อนย้ายทั้งหมดเป็นสาเหตุที่ป้องกันไม่ได้หรือป้องกันได้ยาก มีเพียงร้อยละ 39.9 เป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาอยู่ระหว่าง 10,000 บาท ถึง 880,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้เท่ากับ 17,160,000.00 บาทในช่วง 36 เดือนนั้น สรุปผลการวิจัย: การลดค่าใช้จ่ายจากการเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษา สามารถทำได้โดยใช้วัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน คัดกรองไม่ให้มีผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวหรือโรคที่มีอยู่ก่อนขึ้นไปทำงานบนแท่นขุดเจาะและฐานผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง หรือเพิ่มขีดความสามารถให้สามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านั้นได้ที่แท่นขุดเจาะและฐานผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งอาจพิจารณาค่าใช้จ่าย-ผลได้ของวิธีเหล่านี้เทียบกับสภาพปัจจุบัน
dc.description.abstractalternative Background: Emergency medical evacuation of offshore oil and gas industry is costly and risky. Previous studies have found that the main cause of emergency medical evacuation due to illness is increasing. In Thailand, there have been no studies on the causes and costs of emergency medical evacuation in the offshore oil and gas industry. This study aims to study on the causes and costs of emergency medical evacuation among offshore oil and gas industry in the Gulf of Thailand. Materials and methods: A retrospective review of data of emergency medical evacuation among the offshore oil and gas industry in the Gulf of Thailand from 2016 to 2019 for a period of 36 months. Results: During the research period, a total of 416 patients were evacuated. The majority of the causes of Medevac (84.13%) were illness. We found that 60.1% of all Medevacs were unpreventable or difficult to prevent, and only 39.9% were preventable. The cost of Medevac ranged from 10,000 to 880,000 Baht per case. The cost of Medevac occurring from preventable causes was 17,160,000.00 Baht for this period of 36 months. Conclusion: Reducing the cost of Medevac can be done by 1) giving vaccines to prevent vaccine-preventable diseases, 2) screening to prevent people at risk of getting complications from pre-existing diseases to work offshore, and 3) increasing the capacity of treatment patients at offshore facilities. Offshore oil and gas industry may consider cost-benefit of these approaches compared to status quo.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.716
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาฉุกเฉินในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
dc.title.alternative Emergency medical evacuations among oil and gas industries in the Gulf of Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.716


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record