Abstract:
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร MALS (Maritime and Aquatic Life Support) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนจำนวน 328 คน ผู้สอนจำนวน 10 คน และผู้บังคับบัญชาจำนวน 15 คน คัดเลือกจากหน่วยงานที่มีผู้ผ่านการเรียนหลักสูตร MALS ในปี 2560 และ 2561 จำนวน 15 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าหลังการอบรม เกินครึ่งหนึ่งของผู้เรียนไม่มีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงในที่ทำงานเพราะยังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ โดยเป็นกลุ่ม Basic Course (B-MALS) 107 คน (ร้อยละ 51.4) และกลุ่ม Health Care Provider Course (MALS-HCP) 75 คน (ร้อยละ 62.5) ความรู้และการนำไปปฏิบัติเมื่อเทียบก่อนเข้ารับการอบรมและหลังการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำและทะเล (MALS) มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.9 ในกลุ่ม B-MALS และร้อยละ 94.2 ในกลุ่ม MALS-HCP ความมั่นใจในการปฏิบัติงานหลังจบหลักสูตรในทั้งสองกลุ่มอยู่ที่ร้อยละ 50.0
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ได้แก่ ควรกำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร B-MALS และ MALS-HCP ให้ชัดเจน หลักสูตรการอบรมควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับการนำไปปฏิบัติจริง เพิ่มศักยภาพครูผู้สอนและพัฒนาหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง