DSpace Repository

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.author วิบูลย์ เจียมทับทักษิณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T10:07:05Z
dc.date.available 2020-11-11T10:07:05Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69461
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (musculoskeletal discomfort : MSD) ในบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีจำนวนตัวอย่างมีทั้งสิ้น 197 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ให้ผู้เข้าร่วมการศึกษากรอกด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านงาน และการประเมินอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างโดยใช้แบบสอบถามนอร์ดิก ผลการศึกษา บุคลากรเภสัชกรรมมีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างค่อนข้างสูง ซึ่งมีความชุกโดยรวมคือ ร้อยละ 83.8 และร้อยละ 93.4 สำหรับช่วง 7 วัน และ 12 เดือน ตามลำดับ ตำแหน่งที่มีความชุกมากที่สุดคือคอ และรองลงมาคือไหล่ กลุ่มของตำแหน่งที่มีความชุกของอาการมากที่สุดคือแนวแกนลำตัว เหตุผลที่มากที่สุดของความคิดว่าอาการปวดมาจากการทำงานคือการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ปัจจัยที่สัมพันธ์เชิงลบกับโอกาสเป็น MSD โดยรวมในช่วง 7 วัน คือ การออกกำลังกาย และปัจจัยที่สัมพันธ์เชิงลบและเชิงบวกกับโอกาสเป็น MSD ของแนวแกนลำตัว คือ สัดส่วนของเวลาพักและระยะเวลาการทำงาน ตามลำดับ สรุป บุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูง จึงควรมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพด้านอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง แนะนำให้สร้างเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย พิจารณาปรับเพิ่มสัดส่วนของช่วงเวลาพักหรือลดระยะเวลาการทำงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะเมื่อต้องนั่งนาน เพื่อป้องกันอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในบุคลากรกลุ่มนี้
dc.description.abstractalternative Objective: This study aimed to determine the prevalence and related factors of musculoskeletal discomfort (MSD) among pharmacy personnel of King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH). Method: This study design was a cross-sectional descriptive study with a sample of 197 pharmacy personnel of KCMH. The participants were asked to fill out a self-reported questionnaire comprising of individual and occupational factors and MSD assessed by the modified Nordic questionnaire. Result: The pharmacy personnel had high prevalence of MSD. The 7-day and 12-month overall prevalence were 83.8% and 93.4% respectively. The most prevalent body site of MSD was neck, followed by shoulders. The body part of highest prevalence of MSD was trunk axis. The most common reason of belief in MSD from their works was long sitting at work. The factor related inversely to 7-day overall MSD was exercise. The negatively and positively related factors to axial MSD were proportion of rest and duty time respectively. Conclusion: The MSD was common among pharmacy personnel at KCMH, thus medical surveillance of MSD should have been provided. Health promotion including exercise and considering increased proportion of rest or decreased duty time were recommended, along with alternative work postures for long sitting, to prevent MSD among these personnel.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.723
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
dc.title.alternative Prevalence and related factors of musculoskeletal discomfort among pharmacy personnel of King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.723


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record