Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหัวใจห้องขวาล่างในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบชนิดรูมาติกหลังทำการรักษาด้วยการขยายลิ้นด้วยบอลลูน
วิธีการวิจัย ผู้ศึกษาได้ออกแบบงานวิจัยเป็นลักษณะการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า โดยรวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบชนิดรูมาติกที่รุนแรง และกำลังวางแผนการรักษาด้วยการขยายลิ้นด้วยบอลลูน โดยเก็บรวมผู้ป่วยตั้งแต่กันยายน 2560 – มกราคม 2563 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์หัวใจก่อนและหลังการขยายลิ้นด้วยบอลลูน หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลภาพที่เก็บทำการวิเคราะห์ภาพตามมาตรฐานด้วยโปรแกรม ISCV หลังจากนั้นมีการวิเคราะห์ภาพของหัวใจห้องล่างขวาเพิ่มเติมด้วยวิธี 2D-3D RV speckle tracking โดยโปรแกรม Tomtec หลังจากการนั้นทำการวิเคราะห์ผลเปรียบด้วยวิธีการทางสถิติ
ผลการศึกษา จากการศึกษารวบรวมผู้ป่วยได้ทั้งหมด 20 ราย โดย 90% เป็นผู้ป่วยหญิง อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58.9 ± 14.5 ปี ส่วนใหญ่มีอาการมาด้วยอาการหอบเหนื่อย โดยตรวจพบว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Atrial fibrillation) และภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว(Heart failure) ได้ถึง 60% โดยพบว่าพื้นที่หน้าตัดของลิ้นเพิ่มขึ้นหลังจากการรักษาจาก 0.9 ± 0.28 ตารางเซนติเมตร ถึง 1.61 ± 0.27 ตารางเซนติเมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 0.71 (0.6 ถึง 0.82, p<0.001) ส่วนค่า Endocardial global longitudinal strain (GLS) ของหัวใจห้องขวาล่างมีการเปลี่ยนแปลงลดลงคือจาก -15.9 ± 3.6 ถึง -23.1 ± 3.4, p=<0.001 ซึ่งการที่ค่าลดลง บ่งบอกว่าการทำงานของหัวใจห้องขวาล่างทำงานดีขึ้น รวมไปถึงค่า Free wall strain และ Fractional area change ต่างมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน
สรุป การศึกษานี้พบว่าการทำงานของหัวใจห้องขวาล่างในผู้ป่วยโรคหัวใจไมตรัลตีบชนิดรูมาติกที่มีความรุนแรงมีความผิดปกติ โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการขยายลิ้นด้วยบอลลูน พบว่าการทำงานของหัวใจห้อง