Abstract:
ที่มา : ความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนและการหายใจมีผลต่อการเกิดการสำลัก โดยโอกาสสำลักจะมากขึ้นเมื่อจุดที่ เริ่มกลืนนั้นอยู่ในช่วงการหายใจเข้า จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการให้ออกซิเจนบำบัดอาจส่งผลต่อช่วงเวลา ที่เริ่มกลืน ซึ่งทำให้กลไกการป้องกันการสำลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนและช่วงการหายใจ ขณะที่ทำ การกลืนน้ำอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังกาารถอดท่อช่วยหายใจ โดยจะเปรียบเทียบระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน อัตราไหลสูง ( High flow nasal cannula:HFNC ) และออกซิเจนอัตราไหลต่ำ ( Low flow nasal cannula :LFNC )
วิธีศึกษา : การศึกษานี้เป็นการทดลองไขว้กลุ่มแบบสุ่ม โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการถอดท่อช่วยหายใจมาไม่ เกิน 48 ชั่วโมง ทำการแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม โดยกลุ่มแรกจะได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูง ที่ 50 ลิตร ต่อนาทีก่อน กลุ่มที่สองจะได้รับออกซิเจนอัตราไหลต่ำ 5 ลิตรต่อนาทีก่อน เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นจะทำการตรวจ วัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อการกลืน และช่วงการหายใจระหว่างที่ผู้ป่วยทำการกลืนน้ำปริมาณ 10 มิลลิลิตร อย่าง ต่อเนื่องในเวลา 1 นาที โดยจะทั้งหมด 3 ครั้ง จากนั้นจะทำการสลับออกซิเจนที่ให้ และทำการกลืนน้ำซ้ำอีก 3 ครั้งเช่นเดิม การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อการกลืนจะใช้อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อติดบริเวณใต้คาง ส่วนช่วงการหายใจจะตรวจวัดจาก ECG-derived respiratory signal และวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ หายใจประกอบกัน ความสัมพันธ์ระหว่างการกลืนและช่วงการหายใจแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ I, E, I-E และ E-I ( I; inspiration, E; Expiration ) การวิเคราะห์ช้อมูลทางสถิติใช้การทดสอบ Wilcoxon Signed Rank test และใช้ค่าความน่าจะเป็น ( p value ) < 0.05 จึงจะถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 22 คน เข้าร่วมในการศึกษา อายุเฉลี่ยอยู๋ที่ 55.8 ปี สาเหตุในการใช้เครื่องช่วยใจ ที่พบมากที่สุด คือ ปอดอักเสบ โดยมีระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.95 วัน ความถี่ของการกลืน อยู่ที่ 6.17 ครั้งต่อนาทีในกลุ่ม HFNC และ 7 ครั้งต่อนาทีในกลุ่ม LFNC รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการกลืน และการหายใจที่พบบ่อยที่สุดคือ การกลืนตอนหายใจออก ( E swallow ) ในขณะที่ใช้ HFNC พบว่าผู้ป่วยมีการ กลืนแบบ E swallow มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ( 74.3% ขณะใช้ HFNO เปรียบเทียบกับ 67.6% ขณะใช้ LFNC ; p 0.048) และมีผลรวมของอัตราการกลืนแบบ I swallow และ E-I swallow ต่ำกว่า ( 22.5% ขณะใช้ HFNC เปรียบเทียบกับ 31.15% ขณะใช้ LFNC ; p 0.04) สำหรับรูปแบบการกลืนอื่นๆนั้นไม่แตกต่างกัน
สรุป : HFNC ช่วยเพิ่มการกลืนแบบ E swallow และลดการกลืนแบบ I และ E-I swallow ได้ในผู้ป่วยหลังการ ถอดท่อช่วยหายใจได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับ LFNC ผลการศึกษาที่พบนี้อาจบ่งชี้ว่าการใช้ HFNC ในผู้ป่วย กลุ่มนี้อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการสำลักได้