Abstract:
เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามารดาที่ดูแลบุตรในโรคต่าง ๆ มีภาวะวิตกกังวลแต่การศึกษาโดยตรงถึงภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในมารดาของกลุ่มผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ยังไม่ค่อยมีในประเทศไทย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังได้รับการผ่าตัดแก้ไขทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับการรักษาในกุมารศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับมารดา) 2. แบบสอบถามประวัติของเด็ก 3. แบบวัดภาวะวิตกกังวล ใช้ของ STAI Form-Y1,Y2 4. แบบวัดความเครียดของมารดาใช้ของ The Parental Stress Scale: Pediatric Intensive Care Unit, PSS:PICU วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวลในมารดากลุ่มนี้
ผลการศึกษา : พบความชุกของภาวะวิตกกังวลภาวะวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.5 มีพื้น นิสัยวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลจากการวิเคราะห์โดยวิธี multivariate analysis พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน 2) การผ่าตัดชนิดผ่าตัดใหญ่ 3) พื้นนิสัยวิตกกังวลระดับในปานกลาง-รุนแรง 4) ความเครียดด้านการตอบสนองทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก
สรุป : ภาวะวิตกกังวลของมารดาในการศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษาใกล้เคียงกับการศึกษาในโรคอื่นๆ โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป