dc.contributor.advisor | ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร | |
dc.contributor.author | พนิตนาฏ เทียนศิริฤกษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T10:07:37Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T10:07:37Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69496 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเอง ความวิตกกังวลในการหางานทำ และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในการหางานทำของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 296 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2563 ด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น ชั้นปีละ 74 คนเท่าๆกัน และใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายในการเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยของแต่ละชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลในการหางานทำ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามบุคลิกภาพ (BFI) และแบบวัดการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Chi-square และใช้ Pearson’s correlation coefficient ในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความวิตกกังวลในการหางานทำ และคะแนนปัจจัยด้านต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในการหางานทำ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลางร้อยละ 56.4 ระดับต่ำร้อยละ 25 ระดับสูงร้อยละ 18.6 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลในการหางานทำอยู่ในระดับสูงร้อยละ 35.5 ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการหาทำเท่ากับ 66.69 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลสูงในการหางานทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่การมีโรคประจำตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวไม่เกินหนึ่งแสนบาท ลักษณะงานที่สนใจทำ ด้านนักเขียน นักประพันธ์ บรรณาธิการ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล การมีทัศนคติต่อสถานการณ์ในการหางานที่คิดว่าหางานได้ยาก การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ การมีบุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์สูง การมีบุคลิกภาพด้านการเปิดตัวต่ำ การมีบุคลิกภาพด้านความเป็นมิตรต่ำ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาต่ำและการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีสูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิตและเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับความวิตกกังวลในการหางานทำอย่างเหมาะสมต่อไป | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this descriptive study was to explore the level of anxiety of job application, the level of self-esteem, and factors related to anxiety of job application among undergraduate students at Faculty of Arts, Chulalongkorn University. A cross-sectional design was employed with participation of 296 students in Faculty of Arts, Chulalongkorn University. 74 students of each year were selected to be participants by simple random sampling in the classroom after using the stratified sampling for a total of 296 participants. The data were collected from September 2019 to January 2020. A structured questionnaire was applied to ask about demographic information, anxiety of job application, self-esteem, personality traits, and coping strategy. The data were analyzed by using descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation, Chi-square, Pearson’s correlation coefficient where appropriate. The results showed that 56.4% of students were in moderate level of self-esteem, 25% in low level, and 18.6% in high level. Thirty-five point five percent of students with high anxiety job application were detected. The average score of anxiety of job application was 66.69 with standard deviation of 16.1. Factors related to high level of anxiety of job application included medical problems, family financial status, types of careers interests, attitude about current job search situations, lower self-esteem level, higher scores of neuroticism, lower scores of extraversion, lower scores of agreeableness, lower scores of problem-focused strategy and higher scores of avoidance coping strategy. These results therefore suggested the need for an action from related parties proactively promoting student's mental health and developing required skills for dealing with anxiety of job application. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1411 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Medicine | |
dc.title | การเห็นคุณค่าในตนเองและความวิตกกังวลในการหางานทำ ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title.alternative | Self-esteem and Anxiety of Job Application of Undergraduate Students at Faculty of Arts, Chulalongkorn University | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1411 |