DSpace Repository

Comparative study of in vivo bone regeneration using chitosan/dicarboxylic acid scaffold implanted with human periodontal ligament cells

Show simple item record

dc.contributor.advisor Atiphan Pimkhaokham
dc.contributor.author Teerawat Sukpaita
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:39:54Z
dc.date.available 2020-11-11T11:39:54Z
dc.date.issued 2017
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69552
dc.description Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2017
dc.description.abstract After tooth loss, a consequent atrophy of the alveolar process always takes place and adversely affect the reconstruction process especially by dental implant.  A novel chitosan/dicarboxylic acid scaffold (CS/DA scaffold) has been developed and proven to be an excellent candidate material in bone tissue engineering. This study aimed to evaluate the effects of a CS/DA scaffold with and without seeded primary human periodontal ligament cells (hPDLCs) in mouse calvarial defect model. Eighteen mice were divided into 3 groups of 6 each. Four-millimeter calvarial defects were created on both side of parietal bone and implanted with either CS/DA scaffold or CS/DA scaffold with hPDLCs. The empty bony defects were kept as control. New bone formation was assessed using microcomputed tomography and histological analyses 6 and 12 weeks after surgery. Results showed that In vivo bone regeneration at 6 and 12 weeks was significantly enhanced by CS/DA scaffold alone and CS/DA scaffold implanted with hPDLCs (P <0.05). Histological staining confirmed these findings and impressive new bone formation was observed in CS/DA scaffold and CS/DA scaffold with hPDLCs compared with control. Conclusion: Our study proposes CS/DA scaffold as a novel bone regenerative material with good osteoinductive/osteoconductive properties.
dc.description.abstractalternative การละลายตัวของสันกระดูกขากรรไกรภายหลังการสูญเสียฟันส่งผลต่อการใส่ฟันทดแทนโดยเฉพาะการฝังรากฟันเทียม หนึ่งในวิธีการที่ได้รับความสนใจในการป้องกันการละลายตัวของสันกระดูกขากรรไกรคือกระบวนการคงสภาพสันกระดูกขากรรไกรด้วยวิธีการทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาโครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซานซาน ที่ขึ้นรูปผ่านการละลายและเชื่อมโยงข้ามด้วยกรดคาร์บอกซิลิกชนิดมีหมู่คาร์บอกซิลสองหมู่ขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุชนิดนี้ในการกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ในสิ่งมีชีวิต การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ของโครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซาน/กรดไดคาร์บอกซิลิก ซึ่งได้รับการฝังหรือไม่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ ในรอยวิการกะโหลกศีรษะหนูทดลอง ทำการศึกษาโดยใช้รอยวิการกะโหลกศีรษะหนูเมาส์จำนวน 18 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว ได้แก่ กลุ่มที่ใส่โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซานชนิดที่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ กลุ่มที่ใส่โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซานชนิดที่ไม่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใส่โครงเลี้ยงเซลล์ลงในรอยวิการกะโหลกศีรษะ และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยการถ่ายภาพรังสีไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีและการวิเคราะห์ทางจุลกายวิภาคในสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 12 หลังการผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ใส่โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซานชนิดที่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และกลุ่มที่ใส่โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซานชนิดที่ไม่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ สามารถกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระยะเวลา 6 และ 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซาน/กรดไดคาร์บอกซิลิก มีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นโครงยึดเกาะให้กับเซลล์ต้นกำเนิด และสามารถกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ในรอยวิการกะโหลกศีรษะของหนูทดลอง
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.389
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject.classification Dentistry
dc.title Comparative study of in vivo bone regeneration using chitosan/dicarboxylic acid scaffold implanted with human periodontal ligament cells
dc.title.alternative การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการสร้างกระดูกใหม่ในสิ่งมีชีวิตด้วยการใช้โครงเลี้ยงเซลล์ไคโตซาน/กรดไดคาร์บอกซิลิก ที่ฝังเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์
dc.type Thesis
dc.degree.name Master of Science
dc.degree.level Master's Degree
dc.degree.discipline Oral and Maxillofacial Surgery
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.389


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record