DSpace Repository

หลักธรรมมาภิบาลในกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจประกันวินาศภัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
dc.contributor.author ยุทธนา สุวรรณประดิษฐ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:43:50Z
dc.date.available 2020-11-11T11:43:50Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69583
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผู้เขียนได้คำตอบว่าดังนี้ หลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วยหลักนิติธรรม/นิติรัฐ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในการควบคุมและกำกับดูแลบริษัทประกันวินาศภัยของหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งยังเป็นเครื่องมือจัดทำกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานกำกับดูแล  แนวคิดของหลักธรรมาภิบาลสมควรนำมาปรับใช้กับการบริหารกิจการที่ดีสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ทั้งนี้แนวคิดของหลักธรรมาภิบาลได้แทรกอยู่ในเนื้อหาของกฎหมายที่หน่วยงานกำกับดูแลต้องปฏิบัติโดยตรงและมีความเกี่ยวข้องอยู่แล้วหลักธรรมาภิบาลจึงมีความสำคัญกับกระบวนการจัดทำกฎของหน่วยงานกำกับดูแล การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย การกำหนดกรอบการดำเนินกิจการที่ดีภายใต้หลักบรรษัทภิบาลของบริษัทประกันวินาศภัย การให้อำนาจหน่วยงานกำกับดูแลในการแต่งตั้งกรรมการของบริษัทประกันวินาศภัยและมีอำนาจลงโทษกรรมการบริษัทที่กระทำความผิดกฎหมายและจรรยาบรรณทางธุรกิจในรูปแบบที่เหมาะสม แนวทางในการแก้ไขเพื่อทำให้มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานกำกับดูแลควรจัดให้มีระเบียบในการจัดตรากฎและระเบียบสำหรับการทบทวนกฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย ควรมีการจัดทำแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันวินาศภัยตามหลักบรรษัทภิบาลให้เป็นปัจจุบัน และหน่วยงานกำกับดูแลควรมีอำนาจให้ความเห็นชอบในคุณสมบัติของกรรมการบริษัทก่อนได้รับการแต่งตั้งและมีอำนาจถอดถอนกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว ตลอดจนมีอำนาจลงโทษกรรมการบริษัทด้วยวิธีการทางปกครองที่เหมาะสม
dc.description.abstractalternative This dissertation aims to study the Principle of Good Governance in laws relating to insurance business. It finds that the Principle of Good Governance is a tool for insurance supervisory bodies to manage the control and supervision of insurance companies, to enact and promulgate statutes, to be adopted to improve the management of insurance companies and to be infiltrated into the legal provisions and performance of other related duties. It is necessary to adopt to enact new regulations, to review for the success assessment of all statutes from the past till present, to establish a Good Governance framework, as well as to inflict appropriate punishments on company directors found guilty of legal provisions or business ethical violation. Supervisory bodies should set up regulations for enacting related rules and regulations for legal rule reviews, and be authorized to approve the qualifications of potential directors of insurance companies as well as to remove the appointed directors and be authorized to inflict appropriate administrative sanctions against company directors accordingly.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.915
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title หลักธรรมมาภิบาลในกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจประกันวินาศภัย
dc.title.alternative Corporate governance principles in non-life insurance business laws
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kriengkrai.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.915


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record