DSpace Repository

หน้าที่และอำนาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล
dc.contributor.author พลอยแก้ว แสงรุ่ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:43:52Z
dc.date.available 2020-11-11T11:43:52Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69589
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้การตรวจเงินแผ่นดินตลอดจนการตรวจผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ ล้วนเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่กำกับการตรวจเงินแผ่นดินของผู้ว่าการให้เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการกำหนดขึ้น และตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจึงเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญในระบบการตรวจเงินแผ่นดิน จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างอำนาจหน้าที่ขององค์กรตรวจเงินแผ่นดิน และการกำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดตัวบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และยังเป็นผู้มีอำนาจในการถอดถอนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้พ้นจากตำแหน่งได้ ย่อมส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่สามาถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้จริง อีกทั้งยังทำให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่มีความเป็นอิสระและเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่อย่างแท้จริง นอกจากนี้ หน้าที่และอำนาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ยังได้ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้บางประการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจหน้าที่ขององค์กรตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการเข้าสู่ตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
dc.description.abstractalternative The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 pursuant to the Organic Law of the State Auditing B.E. 2561 states that the state auditing, which includes auditing achievement and efficiency in expenditure of state agencies, are duty and authority of the Auditor General. The State Audit Commission conducts supervision of the state auditing of the Auditor General in compliance with the state audit policy and the state audit standard established by the State Audit Commission and the State Fiscal and Financial Disciplines Act B.E.2561. The Auditor General, therefore, is a significant position in the State auditing system.This study indicated that, structure of authority of the State Audit Office of the Kingdom of Thailand and the Organic Act states that the State Audit Commission has the power of the election of person to be appointed as the Auditor General and the removal from office, the State Audit Commission and the Auditor General seem to have unequal status which is unable to check and balance power. Moreover, the Auditor General does not actually have independence and impartiality in the performance of duties.To solve the problems, I suggest an amendment to the law on the powers and duties of the State Audit Office of the Kingdom of Thailand.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.911
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title หน้าที่และอำนาจของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
dc.title.alternative The authority of the auditor general in the organic law of the state auditing B.E. 2561 (2018)
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Aua-Aree.E@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.911


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record