DSpace Repository

ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
dc.contributor.author เพียงฝัน ยอดดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:45:54Z
dc.date.available 2020-11-11T11:45:54Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69626
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 40 คน    โดยจับคู่อายุ และระดับภาวะซึมเศร้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) การให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน  เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังการได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าของกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
dc.description.abstractalternative The purposes of this quasi-experimental research were to study the effect of group cognitive behavioral counseling on insomnia in older persons with major depressive disorder. Forty samples were outpatient schizophrenic patients at Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital, 20 subjects were randomly assigned to experimental group and control group, who met the inclusion criteria. They were matched paired by age and depression scores. The experimental group received   group cognitive behavioral counseling, and the control group received regular nursing care. The research instruments consisted; 1) group cognitive behavioral counseling, 2) Insomnia Severity Index. All instruments were tested for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 2nd instruments was reported by Cronbach’s Alpha coefficient of .85. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The conclusions of this research were as follows: 1. Insomnia in older persons with major depressive disorder who participated In the group cognitive behavioral counseling was significanfly lower than before, at the.05 level. 2. Insomnia in older persons with major depressive disorder who participated in the group cognitive behavioral counseling were significantly lower than that of who participated in the regular nursing care, at the .05 level. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.990
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การนอนไม่หลับ
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
dc.subject ความวิตกกังวลในผู้สูงอายุ
dc.subject Insomnia
dc.subject Depression in old age
dc.subject Anxiety in old age
dc.title ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า
dc.title.alternative The effect of group cognitive behavioral counseling on insomnia in older persons with major depressive disorder
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.990


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record