DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริพันธุ์ สาสัตย์
dc.contributor.author ฐิติมา ยิ่งหาญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:45:55Z
dc.date.available 2020-11-11T11:45:55Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69629
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดหลังการทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้านอายุและระดับการศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ตรวจสอบความเที่ยงระหวางผูประเมิน โดยใช้สถิติ Inter-rater reliability แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าซี   ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังกลุ่มที่ไดรับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพมากกว่ากลุ่มที่ไดรับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research with the posttest only design with two comparison group aimed to study the effect of health belief modification program on medication adherence among chronic ill older persons with polypharmacy. The participants consisted of both male and female chronic ill older persons admit at medical ward in Rajavithi hospital and had poor medication adherence. The purposive sampling consisted of 40 older persons and random assignment in to control and experiment groups with similar characteristics in terms of age and education level. The experimental group was treated with given modification of health belief program for 5 weeks and the control group received conventional nursing care. The instruments were modification of health belief program, demographic questionnaire and the record of medication adherence. The observation reliability using Inter-rater reliability statistics of the record of medication adherence were 1.0. The data were analyzed using mean, percentage, standard deviation and Z-test. The result revealed as the followings; The proportion of medication adherence among chronic ill older person in the experimental group that received the health belief modification program was statistically significant higher than the control group received conventional nursing care at the level of .05.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.991
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้สูงอายุ -- โรค -- การรักษา
dc.subject ยา -- ขนาดการใช้
dc.subject Older people -- Diseases -- Treatment
dc.subject Drugs -- Dosage
dc.title ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
dc.title.alternative The effect of health belief modification program on medication adherence among chronic ill older persons with polypharmacy
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.991


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record