dc.contributor.advisor |
ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล |
|
dc.contributor.author |
เพ็ญโพยม สาคร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:45:59Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:45:59Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69636 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังได้รับโปรแกรมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกลุ่มละ 22 ราย เวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคัดกรองความเหนื่อยล้า แบบประเมินภาวะการทำหน้าที่และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test และ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะการทำหน้าที่สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้าน กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะการทำหน้าที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลจากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมไปพัฒนารูปแบบหรือประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกโรคไตหรือหน่วยไตเทียมและเป็นแนวทางในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมและสื่อนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาภาวะการทำหน้าที่แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
|
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research (Nonequivalent Control Group Pretest-Posttest Design) aimed to compare functional status of End Stage Renal Disease patients receiving hemodialysis before and after they participated in the self-efficacy promoting and resistance training program. The study also compared functional status between the ESRD patients after participating in the promoting and resistance training program and the control group who received normal treatment. The purposive sampling was 22 samples per group. An experimental group participated in the 8-week program. The research instruments included the general information questionnaire, the Brief Fatigue Inventory, Functional Status questionnaire, and the self-efficacy questionnaire. Data were analyzed using Independent t-test and Paired t-test.
The research results showed that 1) the mean score of functional status of the experimental group after program implementation was significantly higher than that of before at the statistical level of .05 and 2) the mean score of functional status of the experimental group after program implementation was significantly higher than that of the control group at the statistical level of .05
Therefore, nurses in nephology clinic should incorporate this program into the nursing plan and adopt it as a guideline for research and innovation to improve functional status in ESRD patients receiving hemodialysis. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.989 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ไตวายเรื้อรัง |
|
dc.subject |
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
|
dc.subject |
Chronic renal failure |
|
dc.subject |
Hemodialysis |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
|
dc.title.alternative |
The effect of self-efficacy promoting and resistance training program on functional status in end stage renal disease patients undergoing hemodialysis |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
พยาบาลศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.989 |
|