DSpace Repository

อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว โดยมีการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ : การเปรียบเทียบโมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับระหว่างผู้ต้องขังหญิงและเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัคนางค์ มณีศรี
dc.contributor.author ชนัญชิดา ทุมมานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:48:07Z
dc.date.available 2020-11-11T11:48:07Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69643
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวในเพศหญิง และเปรียบเทียบโมเดลความก้าวร้าวระหว่างผู้ต้องขังหญิงกับเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง มีกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิง จำนวน 953 คน และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง จำนวน 728 คน ตอบมาตรวัดแบบรายงานตนเอง 4 ฉบับ คือ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง มาตรวัดการควบคุมตนเอง มาตรวัดการละเลยศีลธรรม และมาตรวัดความก้าวร้าว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวด้วยโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า บุคลิกภาพแบบหลงตนเองมีอิทธิพลทางตรงต่อความก้าวร้าวในกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิง แต่ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความก้าวร้าวในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง การควบคุมตนเองไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าวทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง บุคลิกภาพแบบหลงตนเองมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความก้าวร้าว โดยมีการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง การละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลของการควบคุมตนเองต่อความก้าวร้าวทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว
dc.description.abstractalternative The purposes of this research is to examine the causal model of Thai women aggression and to compare the two models between female inmates and female non - inmates. A sample of 953 female inmates and 728 non - inmates were asked to complete measures of the narcissism, self-control, moral disengagement, and aggression. Structural equation modeling analysis reveals that narcissistic personality has the direct effect on aggression only in the female inmates sample, but not in female non - inmates. Self-control does not mediate the association between narcissism and aggression in both samples. The narcissistic personality indirectly effects on aggression through moral disengagement in both samples. Moral disengagement moderates the association between self-control and aggression in both samples. Finally, group of samples moderates the effect of narcissism on aggression.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.797
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Psychology
dc.title อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่อความก้าวร้าว โดยมีการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน และการละเลยศีลธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ : การเปรียบเทียบโมเดลอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับระหว่างผู้ต้องขังหญิงและเพศหญิงที่ไม่ใช่ผู้ต้องขัง
dc.title.alternative Effects of narcissistic personality on aggression with self-control as mediator and moral disengagement as mediator and moderator: the moderated mediation model comparison between female inmates and non-inmates
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword AGGRESSION
dc.subject.keyword NARCISSISM
dc.subject.keyword SELF-CONTROL
dc.subject.keyword MORAL DISENGAGEMENT
dc.subject.keyword FEMALE
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.797


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record