DSpace Repository

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.advisor สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
dc.contributor.author วิลาวัลย์ วาริชนันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:48:12Z
dc.date.available 2020-11-11T11:48:12Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69654
dc.identifier.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.770
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด และจำนวนโรค ในผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุตอนต้น ที่มีอายุ 60 – 69 ปี (M = 64.81 ปี, SD = 2.82 ปี) จำนวน 124 คนและผู้สูงอายุตอนกลางที่มีอายุ 70 -79 ปี (M = 73.62 ปี, SD = 2.81 ปี) จำนวน 90 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการตอบผ่านแบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นไม่แตกต่างจากผู้สูงอายุตอนกลาง 2) การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต (β = .306, p < .001) และภาวะซึมเศร้า (β = -.453, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนต้นได้ร้อยละ 41.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -184, p < .001) สามารถทำนายความแปรปรวนของการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จในผู้สูงอายุตอนกลางได้ร้อยละ 19.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05        งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุตอนต้นที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าและมีการรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิตมาก มีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ และผู้สูงอายุตอนกลางที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ
dc.description.abstractalternative This research aimed to investigate successful aging in young-old adults (age 60-69 years old) and old-old adults (age 70-79 years old) and explore the association among successful aging and future time perspective, depression, anxiety, stress, and number of illnesses. The participants consisted of 124 young-old adults (M = 64.81 years, SD = 2.82) and 90 old-old adults (M = 73.62 years, SD = 2.81) residing in Bangkok. Questionnaires were in a self-reported style. Data analysis were done using Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression. The results showed that: 1) There was no difference in successful aging between young-old and old-old adults. 2) Depression (b = -.453, p < .001) and future time perspective (b = .306, p < .001) could predict 41.3 percent of successful aging variance (p < .05) in young-old adults. 3) Depression (b = -.184, p < .001) could predict 19.6 percent of successful aging variance (p < .05) in old-old adults.  The findings suggested that young-old adults with less depression and with expansive future time perspective tend to be successful agers and old-old adults with less depression tend to be successful agers.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.770
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Psychology
dc.title ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จของผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนกลาง ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Factors related to successful aging in the young-old and the old-old residing in Bangkok
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword การสูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ
dc.subject.keyword การรับรู้เวลาที่เหลือในชีวิต
dc.subject.keyword ภาวะซึมเศร้า
dc.subject.keyword ผู้สูงอายุตอนต้น
dc.subject.keyword ผู้สูงอายุตอนกลาง
dc.subject.keyword Successful aging
dc.subject.keyword Future time perspective
dc.subject.keyword Depression
dc.subject.keyword Young-old adults
dc.subject.keyword Old-old adults
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.770


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record