dc.contributor.advisor |
นิปัทม์ พิชญโยธิน |
|
dc.contributor.advisor |
สุภลัคน์ ลวดลาย |
|
dc.contributor.author |
สิริพร รังสิตเสถียร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T11:48:13Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T11:48:13Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69655 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน ทั้งนี้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (α= .87) มาตรวัดการหมกมุ่นครุ่นคิด (α= .983) แบบทดสอบการทวนกลับตัวเลข มาตรวัดการควบคุมตนเอง (α= .83) และมาตรวัดการคิดอย่างยืดหยุ่น (α= .873) และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (structural equation model) ในการวิเคราะห์ผลข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ความจำใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์กับการหมกมุ่นครุ่นคิด โดยมีค่าอยู่ที่ -0.08 และ -0.12 ตามลำดับ ในขณะที่การควบคุมพฤติกรรมตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบต่อการหมกมุ่นครุ่นคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B= -0.439,p<0.001) และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่น และความซึมเศร้า พบว่า ความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความซึมเศร้า แต่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการหมกมุ่นครุ่นคิดและความซึมเศร้า พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(B=0.757,p<0.001) อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โดยให้การหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบอิทธิพลส่งผ่านที่มีนัยสำคัญทางสถิติของการหมกมุ่นครุ่นคิด ที่ส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมพฤติกรรมตนเองและความซึมเศร้า |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to examine the mediation role of rumination on the relation between working memory, inhibitory control, cognitive flexibility and depression. One-hundred undergraduate students completed measures of depression (α= .87), rumination (α= .983), working memory, inhibitory control (α= .83) and cognitive flexibility (α= .873).
The result shows that working memory, inhibitory control and cognitive flexibility do not significantly explain rumination (R=0.527) and depression (R = 0.529) and there was no significant relation between working memory, cognitive flexibility and rumination; however, there was significant relation between inhibitory control and rumination (B = -0.439,p<0.001). The relation between working memory, inhibitory control, cognitive flexibility and depression was no significant but the relation between rumination and depression was significant (B=0.757, p<0.001). Structural equation modeling reveals that the effect of inhibitory control on depression is mediated by rumination. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.771 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Psychology |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างความจำใช้งาน การควบคุมพฤติกรรมตนเอง การคิดอย่างยืดหยุ่นและความซึมเศร้าโดยมีการหมกมุ่นครุ่นคิดเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
|
dc.title.alternative |
The relation between working memory, inhibitory control, cognitive flexibility and depression in undergraduate students : the mediation role of rumination |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
ความซึมเศร้า |
|
dc.subject.keyword |
การหมกมุ่นครุ่นคิด |
|
dc.subject.keyword |
ความจำใช้งาน |
|
dc.subject.keyword |
การควบคุมพฤติกรรมตนเอง |
|
dc.subject.keyword |
การคิดอย่างยืดหยุ่น |
|
dc.subject.keyword |
depression |
|
dc.subject.keyword |
rumination |
|
dc.subject.keyword |
working memory |
|
dc.subject.keyword |
inhibitory control |
|
dc.subject.keyword |
cognitive flexibility |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.771 |
|