DSpace Repository

การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ
dc.contributor.author ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T11:50:14Z
dc.date.available 2020-11-11T11:50:14Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69662
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพส่งผลให้สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกมีความปลอดภัย โดยมีส่วนสำคัญในการลดอัตราการตายของมารดา ตลอดจนส่งเสริมให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีสุขภาวะที่ดีในตลอดช่วงวัย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) การได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 2) การได้รับการฝากครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง และ 3) การได้รับการฝากครรภ์จากแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพและการผดุงครรภ์ ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 15-49 ปี ที่คลอดบุตรคนสุดท้องภายใน 2 ปีก่อนการสัมภาษณ์ จำนวนทั้งสิ้น 2,092 คน และทำการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโพรบิท ผลการศึกษาพบว่า อายุขณะตั้งครรภ์บุตร ลำดับของบุตร ความต้องการมีบุตร อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ศานาที่นับถือ การเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน และพื้นที่อยู่อาศัย ส่งอิทธิพลต่อการได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และองค์ประกอบของการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพที่แตกต่างกัน ฉะนั้น จึงนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพจากภาครัฐ ผ่านแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขในเชิงพื้นที่ ควบคู่กับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงจุด  
dc.description.abstractalternative Quality antenatal care has plenty of advantages. It can affect maternal health and the safety of the fetus. Furthermore, it can decrease maternal death and stillbirths. Moreover, babies can have a standard birth weight with good health. This study aims to determine factors that affect the quality antenatal care among pregnant women in Thailand. The quality antenatal care models recommended the first contact scheduled to take place in the first trimester (up to 12 weeks of gestation) and a minimum of five antenatal care contacts with a doctor or nursing in midwifery. The study applies secondary data provided by the Thailand 2015-2016 Multiple Indicator Cluster Survey, which was conducted by the National Statistical Office of Thailand. The analyzed sample is confined to any female respondents aged 15 to 49 years who reported having given birth in part 2 years before the survey (The total sample = 2,092). The probit regression model is applied to predict the probability of quality antenatal care. The result of this study shows the age of women at pregnancy, parity, intend pregnancy, dependency ratio, sex of household head, socio-economic status, level of education, religion, receiving formal sex education and regions or place of residence are affected with the quality antenatal care. The conclusion of this study suggests policy to improve the health and well-being of pregnant women and children in Thailand.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.959
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การฝากครรภ์
dc.subject สตรีมีครรภ์ -- ไทย
dc.subject Prenatal care
dc.subject Pregnant women -- Thailand
dc.subject.classification Nursing
dc.title การได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย
dc.title.alternative The quality antenatal care among pregnant women in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Pungpond.R@chula.ac.th
dc.subject.keyword ฝากครรภ์
dc.subject.keyword ฝากครรภ์ล่าช้า
dc.subject.keyword ไม่ได้ฝากครรภ์
dc.subject.keyword ผู้ให้บริการฝากครรภ์
dc.subject.keyword ความเหลื่อมล้ำของระบบสุขภาพ
dc.subject.keyword การวิเคราะห์ถดถอยโพรบิท
dc.subject.keyword Antenatal Care
dc.subject.keyword Late Attendance
dc.subject.keyword Non-attendance
dc.subject.keyword Prenatal Care Provider
dc.subject.keyword Health Inequalities
dc.subject.keyword Probit Regression Analysis
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.959


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record