dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | |
dc.contributor.author | วิชชุลดา ตันประเสริฐ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T11:53:46Z | |
dc.date.available | 2020-11-11T11:53:46Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69692 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดหลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จาก เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยศึกษาวรรณกรรมเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ความคิดเห็นของผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ การสัมมนา สื่อสารสนเทศ การเก็บข้อมูลภาคสนาม เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ สรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า จากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาสามารถจำแนกตามองค์ประกอบนาฏยศิลป์ได้ 8 ประการ ประกอบด้วย 1) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 3 องก์ ประกอบด้วย องก์ที่ 1ภาพความล่มสลาย องก์ที่ 2 ความหายนะ และองก์ที่ 3 ความรุ่งเรือง นำเสนอในรูปแบบการเล่าจากปัจจุบันย้อนกลับไปหาอดีต 2) นักแสดง มีทักษะด้านการแสดงละคร ทักษะนาฏยศิลป์ไทย ทักษะการต่อสู้ด้วยอาวุธ 3) ลีลาทางนาฏยศิลป์ ใช้การเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน (Everyday Movement) ตามแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ลีลานาฏยศิลป์ไทย และลีลาการต่อสู้ด้วยอาวุธ 4) เครื่องแต่งกายมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การแต่งกายชาวบ้านสมัยอยุธยาและการแต่งกายโขนและละครแบบราชสำนักอยุธยา 5) อุปกรณ์การแสดงใช้แนวคิดการลดทอนองค์ประกอบ (Minimalism) สื่อเชิงสัญลักษณ์ได้อย่างชัดเจน 6) เสียงและดนตรีนั้นจะใช้วงดนตรีร่วมสมัย วงมโหรีเครื่องหก เสียงขับเสภาสด เสียงสังเคราะห์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี และเสียงการสนทนาของนักแสดง 7) พื้นที่สำหรับแสดง จัดแสดงในโรงละครในลักษณะแบล็ค บ๊อกซ์ เธียเตอร์ (Black Box Theatre) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 8) แสง ช่วยสร้างบรรยากาศ อารมณ์ และความรู้สึกร่วม นอกจากนี้แนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานให้ความสำคัญใน 4 ประเด็น คือ การคำนึงถึงเนื้อหาวรรณกรรมเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา โดยนำเนื้อหาของวรรณกรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ เป็นการเล่าเรื่องแบบย้อนกลับจากปัจจุบันไปหาอดีต การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ เป็นการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ที่ได้ปรากฏอยู่ในองค์ประกอบทางนาฏยศิลป์ ได้แก่ ลีลาทางนาฎยศิลป์ เครื่องแต่งกาย เสียงและดนตรี และอุปกรณ์ประกอบการแสดง และการคำนึงถึงแนวคิดหลังสมัยใหม่ ใช้แนวคิดการลดทอน (Minimalism) และความเรียบง่าย (Simplicity) ตามแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่มาเป็นแนวทางในการออกแบบผลงานทางนาฏยศิลป์ ดังนั้น ผลการวิจัยจึงสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis was to study the form and concepts after the creation of dance inspired by Prophetic Lament for Sri-Ayudhaya. The research was conducted under a combination of qualitative and creative research methods by studying the Thai literary work entitled “Prophetic Lament for Sri-Ayudhaya,” dance performances relevant to the research topic, and researcher’s perspective. The instruments comprised related documents and academic textbooks, interviews, seminar, information media, field survey, criteria on artist standard, and researcher’s personal experiences. Such data were analyzed, synthesized, created a dance performance, summarized, and presented the findings respectively. The results revealed that the creation of a dance from Prophetic Lament for Sri-Ayudhaya could be classified into eight components as follows: 1) performance script design which was divided into three acts – namely collapse, calamity, and prosperity – and presented in a series of flashbacks; 2) selection of performers with the ability to act and skills in Thai dance together with weapon-based martial arts; 3) dance style which was an integration of everyday movements, following the postmodern dance concept, Thai dance and weapon-based martial arts; 4) costume design which was composed of two sets of outfits: commoners in the Ayutthaya period and Thai royal Khon; 5) stage props and performance craft based on the concept of minimalism clearly conveying symbolic interpretation; 6) sounds and live music performed by a contemporary music band and a Thai classical one called Mahori Khrueng Hok (six instruments included), including Sepa singing style, synthetic sounds created by a computer program, and the performers’ own voices; 7) performance area which was held at Black Box Theatre, Bangkok University; 8) lights that were used to build up the atmosphere, emotions and mutual feelings. Apart from the aforementioned components, there were also concepts derived from the creation of dance emphasizing four aspects as follows: 1) consideration of the contents of Prophetic Lament for Sri-Ayudhaya by applying the contents of such literary work to the dance creation; 2) consideration of dance creativity by applying the flashback style to storytelling; 3) consideration of symbol application in dance by use of symbolic design reflected in certain dance components, that is, dance style, costume, sounds and music, as well as stage props; 4) consideration of the postmodern dance concept by applying minimalism and simplicity notions to the dance creation. Therefore, all of these findings were consistent with the objective of the thesis. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1350 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา | |
dc.title.alternative | The creation of a dance from prophetic lament for Sri-Ayudhaya | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Naraphong.C@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1350 |