Abstract:
การแสดงในงานศิลปวัฒธรรมอุดมศึกษา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา โดยขอบเขตการศึกษา คือ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 – 19 ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) การสัมภาษณ์บุคคล กลุ่มที่ 1 ที่ปรึกษางานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 สมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ กลุ่มที่ 3 นิสิต นักศึกษาที่ได้รวมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา 3) ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 4) การลงพื้นที่ภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า การแสดงที่ปรากฏในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 1 – 19 ปรากฏการแสดง 5 ประเภท 23 รูปแบบการแสดง โดยการแสดงที่นำมาแสดงมากมากที่สุดถึงร้อยละ 62 ของการแสดงทั้งหมด คือการแสดงสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นบ้าน (ระบำ) โดยมีปัจจัยในการเลือกชุดการแสดง ดังนี้ 1) ความถนัด เอกลักษณ์ ทางด้านนาฏยศิลป์ของแต่ละมหาวิทยาลัย 2)สถานที่จัดงานและสถานที่จัดแสดง 3) งบประมาณ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้โดยการแสดงที่นำมาแสดงคือการแสดงสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นบ้าน (ระบำ) สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ของแต่ละสถาบันที่เข้าร่วม ที่นำเอาวิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือการแสดงที่เคยมีอยู่แล้วนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ และจากการศึกษาการจัดการการแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา พบว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองนโยบาย ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้เกิดการรวมตัวกัน เพื่อจัดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา โดยผลการประเมินการจัดงานในแต่ละครั้งมีผลการประเมินด้านตัวชี้วัดในทุกด้านอยู่ในระดับ ดี – ดีมาก และงานนี้ถือเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการอนุรักษ์การแสดงนาฏยศิลป์ที่เป็นแบบแผนตามแบบกรมศิลปากร เนื่องด้วยงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาป็นงานที่ให้ว่าที่บัณฑิตได้ฝึกฝน การสร้างสรรค์ผลงาน การจัดการการแสดง การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นการสืบทอด อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่โดยคนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์รวมของบุคลากรวงการนาฏศิลป์ไทยได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาผลงานทางด้านนาฏยศิลป์รูปแบบต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต