dc.contributor.advisor |
สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน |
|
dc.contributor.author |
พัชรดนัย ไชยเดช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-11-11T12:34:14Z |
|
dc.date.available |
2020-11-11T12:34:14Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69766 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) คือ รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค ในการซื้อขายผลผลิตอินทรีย์ โดยให้ผู้บริโภคเข้ามาเป็นสมาชิกและมีการชำระเงินล่วงหน้าให้เกษตรกรเป็นรายปี ผู้บริโภคจะได้ผลผลิตอินทรีย์จากฟาร์มเกษตรกรโดยตรงเป็นรายสัปดาห์ หรือตามข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและการตัดสินใจของเกษตรกรและผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกภายใต้ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) ในประเทศไทย โดยผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรและกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคทั้งที่อยู่ภายใต้ระบบและไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ CSA ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรในกลุ่ม CSA มีอายุเฉลี่ยที่สูง มีรายจ่ายและหนี้สินน้อย ในด้านลักษณะเกษตรกรรม เกษตรกรในกลุ่ม CSA มีประสบการณ์ในภาคเกษตรน้อยกว่า และใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยกว่าเกษตรกรในกลุ่ม Non-CSA เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วม CSA ของเกษตรกรให้ความสำคัญกับการไม่ใช้สารเคมีในการเกษตรมากที่สุด ลักษณะของผู้บริโภคในระบบชุนสนับสนุนเกษตรกรรม (CSA) มีอายุเฉลี่ย ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระดับรายได้สูงกว่าผู้บริโภคในกลุ่ม Non-CSA โดยเหตุผลในด้านผลผลิตอินทรีย์เป็นแรงจูงใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเข้าร่วมในระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรมมากที่สุด |
|
dc.description.abstractalternative |
Community Supported Agriculture (CSA) is a system that supports a relationship between producers and consumers in an organic product market. It allows consumers to become members and subscribe for the farming products with an annual prepayment. As a result, these members are able to receive the products regularly and directly from the producers every particular time period depending on the subscription contract. The objective of this work is to study the characteristics and decision-making of the producers and the consumers who are the members of CSA in Thailand. A survey on a sample of the producers and consumers in CSA and non-CSA system was conducted. The results show that producers in the CSA group are older and have less expenses as well as debts on average. In terms of agriculture, the CSA members have less experience in farming and require less land usage than the non-members. The most important reason of joining CSA is the non-use of agricultural chemicals. As for the consumer side, the consumers in the CSA group have higher ages, educational levels, the numbers of family members and income levels compared to the consumers in the Non-CSA group. An organic vegetables is the most important motivations of the CSA consumers to join the community. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.642 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
การศึกษาลักษณะและการตัดสินใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคภายใต้ระบบชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรม |
|
dc.title.alternative |
A study of characteristics and decision-making of farmers and consumers in community supported agriculture |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2019.642 |
|