DSpace Repository

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
dc.contributor.author เคลน บุณยานันต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:34:33Z
dc.date.available 2020-11-11T13:34:33Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70012
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) อาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 110 คน ที่ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย 2) ประธานหลักสูตรและเลขานุการของหลักสูตรหรือผู้ที่ได้รับการแนะนำจากประธานหลักสูตร รวม 24 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรเบื้องต้น แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตร และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตร ดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. สภาพการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 และพบปัญหาการใช้หลักสูตรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร 2) ด้านการบริหารหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2. แนวโน้มของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) โครงสร้างของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 5) วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 6) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร และพบภาวะคุกคามของหลักสูตรครุ ศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะคุกคามจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 2) ภาวะคุกคามจากหน่วยงานส่วนกลาง 3) ภาวะคุกคามจากคณะและมหาวิทยาลัย 4) ภาวะคุกคามจากผู้ร่วมงาน 5) ภาวะคุกคามจากผู้เรียนและผู้ปกครอง และ 6) ภาวะคุกคามจากชุมชนและหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต 3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านรายละเอียดหลักสูตร 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านบทบาทของที่ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
dc.description.abstractalternative This research aimed to 1) analyze current situation and problems of curriculum implementation of music education programs of Rajabhat universities 2) identify trends of curriculum and threats of music education programs of Rajabhat universities 3) propose curriculum development guidelines. Samples of this study were 1) 110 lecturers of music education programs, Rajabhat universities chosen by simple random sampling method and 2) 24 heads and deputies of music education programs, Rajabhat universities chosen by cluster sampling method. The research tools were 1) semi-structured interview towards current situation and problems of curriculum implementation 2) questionnaires towards current situation and problems of curriculum implementation 3) semi-structured interview towards trends and threats of music education programs. Data collection and data analysis used in this research were content analysis and simple statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings revealed that 1. Current situation of curriculum implementation is at high level with mean at 3.98 and standard deviation at 0.56 whereas problems of curriculum implementation were found in 3 stages: curriculum preparation, curriculum management, and instruction. 2. Trends of music education curriculum consist of 6 aspects: aims, structure, content, instruction, equipment and media, and evaluation. Threats of music education programs were found in 6 groups: Threats from environment, Threats from central government sectors, Threats from faculties and universities, Threats from colleagues, Threats from students and parents, and Threats from community. 3. Curriculum development guidelines of Bachelor of Education in music education program for Rajabhat universities consist of 2 aspects: curriculum details, and roles of the people involved the curriculum.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1502
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
dc.title.alternative Curriculum development guidelines of Bachelor of Education in music education program for Rajabhat Universities
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อุดมศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword CURRICULUM
dc.subject.keyword GUIDELINES
dc.subject.keyword BACHELOR OF EDUCATION
dc.subject.keyword MUSIC EDUCATION PROGRAM
dc.subject.keyword RAJABHAT UNIVERSITY
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1502


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record