DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author กษิดิศ ครุฑางคะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:34:48Z
dc.date.available 2020-11-11T13:34:48Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70026
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาที่ผ่านมาประสบปัญหาในกระบวนการการนำสู่การปฏิบัติ การส่งเสริมให้ครูนำแนวคิดของการคิดออกแบบมาใช้ในการดำเนินงานคาดหวังว่าจะทำให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมของครู และการสร้างหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความพร้อมและความต้องการจำเป็นของครูด้านการคิดออกแบบ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูระดับประถมศึกษา จำนวน 674 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (three-way MANOVA) และดัชนี PNImodified  ระยะที่ 2 การกำหนดหลักการออกแบบและการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมฯ โดยอิงผลการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้จากการสัมภาษณ์ครูจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนผลที่เกิดจากการทดลองใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ ผลการถอดบทเรียนจากการนำสู่การปฏิบัตินำไปสู่การกำหนดหลักการออกแบบใหม่สำหรับการสร้างโปรแกรมฯ ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความพร้อมด้านการนำ DOE สู่การปฏิบัติโดยใช้การคิดออกแบบในระดับสูง และมีระดับความพร้อมของครูแตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีความพร้อมสูงกว่าครูที่ประสบการณ์มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ข้ออ้างเชิงเหตุผลที่นำมาใช้ในการกำหนดหลักการออกแบบ คือ แนวคิดการเสริมสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และชุมชนการเพิ่มคุณภาพแบบเครือข่าย หลักการออกแบบต้นแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วยคุณลักษณะของโปรแกรมมี 2 ประการ คือ 1) การสร้างกรอบคิดติดยึดด้านการคิดออกแบบ และ 2) การสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการ 6 กระบวนการ  3. ผลการใช้ต้นแบบโปรแกรมฯ พบว่าครูที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการคิดออกแบบเพิ่มสูงขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะตาม DOE เพิ่มสูงขึ้น มีการเสนอหลักการออกแบบใหม่ เป็นหลักการออกแบบระดับทั่วไป 6 ข้อ และหลักการออกแบบระดับพื้นที่ 7 ข้อ นอกจากนี้ ยังยืนยันแนวคิดที่นำมาใช้เป็นข้ออ้างเชิงหตุผลในการสร้างหลักการออกแบบ
dc.description.abstractalternative According to precedent issues in implementing educational policy, motivating teachers to adopt design thinking is expected to effectively meet the desired outcomes of education (DOE). The objectives of this study were to analyze the readiness of teachers in design thinking skills, and to design and develop a program for enhancing teachers’ use of design thinking in DOE implementation. The research was divided into three phases. The first phase was the analysis of teachers’ readiness and needs to effectively implements DOE policy by using design thinking process. In this phase, a survey research was conducted. The samples were 674 elementary school teachers selected by multi-stage random sampling. The data were analyzed by applying descriptive statistics, three-way MANOVA, and PNImodified index. The second phase was the design and development of the prototype created based on the information gained from the experiences of the seven teachers. Data were analyzed using content analysis. The third phase was the evaluation and reflection of the implementation of the developed prototype. Based on the lesson learned from the program implementation, new design principles were determined for more effective program improvement. The findings of the study were summarized as follows: 1. The teachers showed high level of readiness. The comparison of the teacher’s readiness demonstrated that those with less than five years of working experience had more readiness than those with longer experience with statistical significance level of .05. 2. The arguments used to develop initial design principles for this program were creative confidence, empowerment evaluation, and networked improvement communities. The substantives design principles consisted of two attributes: 1) design thinking mindset, and 2) creative confidence through six process. 3. The evaluation of the prototype implementation suggested that teachers who participated in the activities had higher design thinking skills, and students had increased the DOE qualifications. The newly proposed design principles for program development were six general design principles and seven local design principles. Lastly, the three concepts used as arguments for constructing design principles were confirmed.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1169
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาสู่การปฏิบัติในห้องเรียนโดยใช้การคิดออกแบบของครู : การวิจัยการนำสู่การปฏิบัติอิงการออกแบบ
dc.title.alternative Development of a program for implementing desired outcomes of education to classroom practices using teachers' design thinking: design-based implementation research
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword DESIGN-BASED IMPLEMENTATION RESEARCH
dc.subject.keyword DESIGN THINKING
dc.subject.keyword DESIGN THINKING TEACHER
dc.subject.keyword POLICY IMPLEMENTATION
dc.subject.keyword DESIRED OUTCOMES OF EDUCATION
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1169


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record