DSpace Repository

การส่งเสริมทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานโดยใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนรวม

Show simple item record

dc.contributor.advisor วาทินี อมรไพศาลเลิศ
dc.contributor.author แพรวา ฤทธิ์สกุลชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-11-11T13:35:01Z
dc.date.available 2020-11-11T13:35:01Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70036
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานต่อทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานของนักเรียน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 41 คน และครูประจำชั้นจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐาน แบบวัดทักษะสมองด้านการบริหาร แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะสมองด้านการบริหารและค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานของนักเรียนในระยะก่อนทดลองและหลังทดลองด้วยการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ (dependent sample t-test) และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูประจำชั้น วิเคราะห์ด้วยการลงรหัสและวิเคราะห์ประเด็นเพื่อนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสมองด้านการบริหาร และค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะสมองด้านการบริหารสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของจำนวนการเกิดพฤติกรรมมุ่งงานไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และ 4) ครูประจำชั้นมีความคิดเห็นต่อโปรแกรมฯ ในเชิงบวก
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate the effect of using the music-based EF process program on executive function skills and on-task behavior of primary students. Participants were 41 third grade students and 2 teachers in the first semester academic year 2020 from Bangkok Metropolitan School. The research instruments included the music-based EF process program, an Executive Function Scales, an interval recording form, and a teacher interview from. Dependent sample t – test and Multivariate Analysis of Covariance (MANCOVA) were used to compare mean and standard deviation between the time series and participants groups. The results were as follows: 1) Post-test of executive function score and the number of occurrences of on-task behavior of the experimental group were higher than pre-test score at .05 level of significance. 2) Post-test of executive function score of the experimental group was higher than the control group at .05 level of significance. 3) No statistically significant difference of on-task behavior was found between the experimental group and the control group. 4) The teacher reported that implementation of the program has positive effects.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.777
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Psychology
dc.title การส่งเสริมทักษะสมองด้านการบริหารและพฤติกรรมมุ่งงานโดยใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะอีเอฟผ่านการช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐานสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในชั้นเรียนรวม
dc.title.alternative Enhancing executive function skills and on task behaviors of primary students using music based EF process program in inclusive classrooms
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword ทักษะสมองด้านการบริหาร
dc.subject.keyword พฤติกรรมมุ่งงาน
dc.subject.keyword การช่วยเหลือที่มีดนตรีเป็นฐาน
dc.subject.keyword นักเรียนประถมศึกษา
dc.subject.keyword ชั้นเรียนรวม
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.777


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record